พระสมเด็จฯเกษไชโย' พิมพ์ 7 ชั้นนักเลงโต(แขนติ่ง) - webpra

พระสมเด็จฯเกษไชโย' พิมพ์ 7 ชั้นนักเลงโต(แขนติ่ง)

บทความพระเครื่อง เขียนโดย อิฐ_สงขลา

อิฐ_สงขลา
ผู้เขียน
บทความ : พระสมเด็จฯเกษไชโย' พิมพ์ 7 ชั้นนักเลงโต(แขนติ่ง)
จำนวนชม : 13204
เขียนเมื่อวันที่ : จ. - 08 มิ.ย. 2558 - 11:51.33
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)

'พระสมเด็จฯเกษไชโย' พิมพ์ 7 ชั้นนักเลงโต(แขนติ่ง)
พระสมเด็จฯ คือจักรพรรดิ์แห่งพระเครื่อง พระสมเด็จฯ ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๔ ติดต่อมาจนถึงต้นรัชกาลที่ ๕ แม้จะมีอายุการสร้างเพียงร้อยกว่าปี แต่วงการนิยมพระเครื่องยกย่องให้เป็นจักรพรรดิ์แห่งพระเครื่อง ทั้งๆ ที่พระเครื่องเก่าๆ นั้นเกิดขึ้นมานานแล้ว ทั้งมีอายุการสร้างเก่ากว่าพระสมเด็จฯ เป็นร้อยๆ ปี แต่วงการนิยมพระเครื่องก็ยังยกย่องพระสมเด็จให้เป็นหนึ่ง ดังนั้น ไม่ว่าพระเกจิองค์ใดในยุครัตนโกสินทร์จึงสร้างพิมพ์พระสมเด็จขึ้นแทบทุกอาจารย์ บางองค์สร้างแล้วดังก็มีแต่จะหามีพระเกจิอาจารย์องค์ใดที่สร้างแล้วดังเทียบเท่าพระพิมพ์สมเด็จที่สมเด็จพุฒาจารย์โต นั้นไม่มีเลย 
พระสมเด็จวัดเกศไชโย เป็น 1 ใน 3 ตระกูลพระสมเด็จที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) โดยได้บรรจุไว้ในองค์พระมหาพุทธพิมพ์ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิฐฐานอยู่ภายในพระวิหารวัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นพระสมเด็จที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร นั่นคือจะต้องมีลักษณะของ อกร่อง หูบายศรี มีขอบกระจก เกือบทุกพิมพ์ทรง วงการพระเครื่องในปัจจุบันให้ความนิยมเป็นอย่างสูงและจัดรวมพระสมเด็จวัดเกศไชโยให้อยู่ในชุด เบญจภาคี เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
วัดไชโยวรวิหารหรือวัดเกศไชโย ( ชื่อที่ปรากฏในพื้นที่คือ วัดเกศไชโย ) เป็นพระอารามหลวงชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เดิมทีเป็นวัดราษฏร์ สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาไม่มีประวัติแน่ชัดว่าใครสร้าง แต่มาปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) แห่งวัดระฆังโฆษิตารามได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้น เมื่อครั้งปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประมาณปี 2400-2405 ซึ่งขณะนั้นท่านยังดำรงสมณะศักดิ์ที่ พระเทพกวี
การที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) มาสร้าง พระหลวงพ่อโต หรือที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ภายหลังว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ขึ้นไว้ที่นี่ ก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ระลึกถึงโยมมารดาซึ่งได้ร่วงลับไปแล้วและเป็นอนุสรณ์สถานความผูกพันในช่วงชีวิตของท่าน เนื่องจากมารดาเคยพาท่านมาพักอยู่ที่ตำบลไชโยเมื่อตอนท่านยังเล็กๆ ซึ่งตามประวัตินั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ท่านมักสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์เกี่ยวกับชีวิตของท่านไว้ตามสถานที่ต่างๆ ไว้มากมาย
คามบันทึกของพระยาทิพโกษา ( สอน โลหะนันท์ ) ได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) เป็นผู้สร้างขึ้น เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับโยมมารดาที่ชื่อ เกศ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ทรงสร้างพระพิมพ์สมเด็จ 7 ชั้น แล้วนำมาแจกรวมทั้งบรรจุกรุไว้ใน กรุวัดไชโยวิหาร ในคราวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดนี้ และประมาณการจากบันทึกต่างๆว่าน่าจะมีอายุการสร้างสมเด็จพิมพ์วัดเกศไชโยนั้นใกล้เคียงกับสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม
พระสมเด็จวักเกศไชโย จึงถือได้ว่าเป็นสมเด็จอีกตระกูลหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังษี ) ทั้งในด้านการปลุกเสก และบรรจุกรุ ส่วนผสมในการสร้างนั้นล้วนแล้วแต่เป็นของดีของวิเศษซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) นำมาประสมกันเป็นเนื้อพระนั้น ส่วนใหญ่ใช้สูตรเดียวกับสมเด็จวัดระฆังฯ และสมเด็จบางขุนพรหม ประกอบด้วยมวลสารหลักได้แก่ ปูนเปลือกหอย ผงวิเศษ ( ผงอิทธิเจ ผงพุทธคุณ ผงปถมัง ผงมหาราช และผงตรีนิสิงเห ) ข้าวสุก กล้วยป่า ดอกไม้แห้ง และน้ำมันตั้วอิ้ว และมวลสารอื่นๆอีกมาก
เนื้อพระสมเด็จวัดเกศไชโย อาจแบ่งได้ 3 ลักษณะคือ เนื้อนุ่ม เนื้อนุ่มปานกลาง และเนื้อแกร่ง พระเนื้อนุ่มมีมวลสารและน้ำมันตั้งอิ้วผสมอยู่มาก เรียกว่า เนื้อจัด ส่วนใหญ่มีสีขาวขุ่นอมน้ำตาล ( ไม่ใช่คราบเปลื้อนที่ผิว ) ส่วนพระเนื้อนุ่มปานกลาง มีส่วนผสมที่ได้สัดส่วนลงตัว ส่วนใหญ่สีขาวอมเหลือง และพระเนื้อแกร่ง เป็นพระเนื้อแก่ปูน ผิวแห้ง แกร่ง คล้ายเนื้อหินอ่อน มวลสารปรากฏให้เห็นในปริมาณน้อย
พระสมเด็จวัดเกศไชโยนี้ มีด้วยกันหลายพิมพ์ แต่พิมพ์ที่วงการสากลนิยมมี 3 พิมพ์ด้วยกันคือ สมเด็จพิมพ์ 7 ชั้นนิยม สมเด็จพิมพ์ 6 ชั้น และสมเด็จพิมพ์ 3 ชั้น 
การสร้างพระสมเด็จฯ เกษไชโย พิมพ์มาตรฐาน...เป็นที่ยอมรับของวงการพระว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้น ท่านได้สร้าง พระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ, พระสมเด็จฯ เกษไชโย และ พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม
ว่ากันว่า เมื่อสมเด็จฯ ท่านสร้างพระพิมพ์ ๖ ชั้น และ ๗ ชั้นแล้ว ได้นำไปบรรจุไว้ที่ฐานหรือองค์พระโตที่ท่านสร้างไว้ที่วัดไชโยวรวิหาร อ.ไชโย จ.อ่างทอง เมื่อพระโตได้พังทลายลงมา พระจึงเผยแพร่ออกมา พระโตองค์นี้ได้พังลงมาถึงสองครั้ง ครั้งแรกมีคนนำไปบางส่วน อีกส่วนนำกลับไปบรรจุเมื่อซ่อมพระเสร็จ
เมื่อพระโตพังลงมาอีกครั้งใน พ.ศ.๒๔๓๐ ก็มีพระออกมาอีก บางส่วนมีผู้นำไปบรรจุที่ วัดโพธิ์เกรียบ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง โดยบรรจุอยู่ในพระเจดีย์ จำนวนพระที่บรรจุคงจะหลายร้อยองค์ ทั้งนี้ มีการยืนยันจากพระภิกษุวัดโพธิ์เกรียบ ว่า ในสมัยที่ พระครูโพธิสารสุนทร (รอด จันทสโร) เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์เกรียบนั้น ท่านมีความสนิทสนม ไปมาหาสู่กับเจ้าอาวาสวัดไชโยเป็นประจำ ท่านได้นำพระจากวัดไชโยมาส่วนหนึ่ง แล้วบรรจุไว้ในพระเจดีย์ ที่วัดโพธิ์เกรียบ
เมื่อราว พ.ศ.๒๕๐๒ เจดีย์เล็กวัดโพธิ์เกรียบที่บรรจุพระสมเด็จฯ ถูกคนร้ายตามมาลักขุด ได้พระไปหลายร้อยองค์ พระส่วนนี้นำมาวางขายที่สนามพระวัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ ในราคาองค์ละ ๓๐๐ บาท สมัยนั้นถือเป็นพระที่มีราคาแพงมาก แต่ปัจจุบันหายาก และมีราคาสูง
“หลังจากการสร้างพระมหาพุทธพิมพ์เสร็จแล้ว ท่านเจ้าพระยารัตนบดินทร (บุญรอด) ได้ประกาศป่าวร้องให้ราษฎรที่เก็บเอาพระพิมพ์สมเด็จ (ที่แตกออกมาเมื่อพระพุทธรูปปูนปั้นใหญ่องค์เดิมพังลงมา) ไป ให้นำเอามาคืนให้หมด ก็ด้วยความเกรงกลัวในอาญาแผ่นดินเป็นที่ตั้ง ใครได้มาก็มิได้บิดพลิ้วเก็บงำเอาไว้เลยสักองค์เดียว มีอยู่เท่าไรก็เอามาคืนกันหมดทุกครัวเรือน ก็อย่างว่าแหละครับ ค่านิยมสำหรับพระเครื่องสมัยก่อนโน้นยังไม่มี เป็นของแจกฟรี มีอยู่ทั่วไป เสร็จแล้วท่านจะคืนให้บ้านละองค์สององค์ ตามสมควรแก่กรณี ที่เหลือนั้น ท่านเจ้าพระยารัตนบดินทร ได้นำบรรจุคืนกลับเข้าไว้ในองค์พระพุทธรูปมหาพุทธพิมพ์ เหมือนเดิม
พระสมเด็จวัดไชโย ที่แตกกรุเมื่อครั้ง เจ้าพระยาบดินทร (บุญรอด) ขึ้นไปบูรณะพระอารามวัดไชโย (เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐) และเรียกเก็บพระสมเด็จวัดไชโยที่ประชาชนเอาไปกลับเอาบรรจุในพระมหาพุทธพิมพ์ และแจกให้บ้านละองค์สององค์นั้น ประชาชนในพื้นบ้านวัดไชโยทั้งสองฝั่ง (แม่น้ำเจ้าพระยา) ในสมัยก่อนจึงมีพระสมเด็จวัดไชโยที่ว่าอยู่ทุกบ้าน แต่มิได้เก็บงำเอาไว้ด้วยความหวงแหน ครั้นพอค่านิยมในพระเครื่องพระสมเด็จมีแนวโน้มสูงขึ้นบ้าง ก็ให้ไปฟรีๆ ที่ดีหน่อยก็ปล่อยไปในราคาถูกๆ องค์ละไม่กี่บาท
คุณครูชั้น บูรณะไทย ท่านเล่าว่า พระสมเด็จวัดไชโยในพื้นบ้านนั้น ที่ปล่อยออกเป็นองค์สุดท้ายที่ได้ราคามากที่สุด คือ องค์ของตาอู๊ด คือ ปล่อยไปได้ตั้ง ๓,๐๐๐ บาท (สามพันบาท) เป็นที่โจษจันกันทั่วทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บ้างก็บ่นเหมือนเสียดาย เหมือนคนไม่รู้ค่า แต่พอจะทราบว่าอะไรเป็นอะไรก็สายไปเสียแล้ว ปัจจุบันเอากันแค่ขอดูเป็นแบบอย่างกระทั่งยาก”
ความข้างต้นนี้ น่าเชื่อถือได้ไม่น้อย เพราะท่านผู้เขียน (“นิรนาม”) ได้สอบถามจากคนท้องถิ่นเอง ชื่อ คุณครูชั้น บูรณะไทย กับ คุณลุงไข่ เพ็งขจร
อายุการสร้าง พระสมเด็จฯ เกษไชโย น่าจะมีอายุไล่ๆ กับพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ และพระสมเด็จฯ บางขุนพรหม เหตุที่ว่านี้ก็เพราะได้มีการพบ พระสมเด็จฯ เกษไชโย นี้บรรจุอยู่ในพระเจดีย์รวมกับ พระสมเด็จฯ วัดบาง ขุนพรหม ด้วย นักเล่นพระบางท่าน เช่น คุณกิตติ ธรรมจรัส (เฮียกวง) และคุณสมศักดิ์ คงวุฒิปัญญา (เฮียยี่ บางแค) ยืนยันว่า เคยมีพระสมเด็จฯ วัดไชโย ที่บรรจุในเจดีย์วัดบางขุนพรหมนี้ผ่านมือประมาณ ๓-๔ องค์ พระที่ได้มีคราบกรุคล้ายกับคราบกรุของพระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม จะแตกต่างบ้างก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
จากหลักฐานดังกล่าวข้างต้น อาจคาดคะเนตามหลักเหตุผล (อนุมาน) ได้ว่า พระสมเด็จฯ วัดเกษไชโย น่าจะมีอายุพอๆ กับพระสมเด็จฯ วัดระฆัง แต่อาจจะสร้างก่อนพระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม ไม่นาน ทั้งนี้ก็สอดคล้องกับบันทึกของ ท่านเจ้าคุณทิพยโกษา ที่ให้รายละเอียดไว้
พิมพ์ทรงพระ พิมพ์ของพระสมเด็จฯ เกษไชโย มีเอกลักษณ์แตกต่างจาก พระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ และพระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม คือ ทุกพิมพ์ต้องมี กรอบกระจก และอกมีร่อง หูบายศรี (ยกเว้นพิมพ์ ๗ ชั้นอกตัน) อีกทั้งมีฐานมากกว่า ๓ ชั้น คือ มีฐาน ๖ ชั้น และฐาน ๗ ชั้น (บางท่านว่าบางพิมพ์มีฐาน ๕ ชั้น)
พิมพ์ทรงของพระสมเด็จฯ เกษไชโย มีดังนี้ พิมพ์ ๗ ชั้น ได้แก่ ๑.พิมพ์ ๗ ชั้น นิยม (พิมพ์ใหญ่) ๒.พิมพ์ ๗ ชั้น หูประบ่า ๓.พิมพ์ ๗ ชั้น ไหล่ตรง ๔.พิมพ์ ๗ ชั้น นักเลงโต (แขนติ่ง) ๕.พิมพ์ ๗ ชั้น แข้งหมอน ๖.พิมพ์ ๗ ชั้น อกวี ๗.พิมพ์ ๗ ชั้น แขนกลม ๘.พิมพ์ ๗ ชั้น อกตัน ๙.พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์ล่ำ และ ๑๐.พิมพ์ ๗ ชั้น ปรกโพธิ์
พิมพ์ ๖ ชั้น ได้แก่ ๑.พิมพ์ ๖ ชั้น อกตัน ๒.พิมพ์ ๖ ชั้น อกตลอด ๓.พิมพ์ ๖ ชั้น แบบ ๗ ชั้น นิยม ๔.พิมพ์ ๖ ชั้น ไหล่ตรง ๕. พิมพ์ ๖ ชั้น ล่ำอกตลอด ๖.พิมพ์ ๖ ชั้น เข่ากว้าง ๗.พิมพ์ ๖ ชั้น พิมพ์ต้อ และพิมพ์ ๕ ชั้น
เนื้อพระ เป็นพระเนื้อผงขาว เช่นเดียวกับ พระสมเด็จฯ วัดระฆัง และพระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม เนื้อพระละเอียด เพราะผ่านการกรอง และตำผงมาอย่างดี มีมวลสารเป็นจุดสีขาวขุ่น จุดสีแดงอิฐ และจุดสีดำ คล้ายถ่านหรือใบลานเผา จุดสีน้ำตาลของเกสรดอกไม้
พระสมเด็จฯ เกษไชโย มีคราบกรุบาง หรือแทบไม่มีคราบกรุเลย เพราะถูกบรรจุไว้ในที่แห้ง และอยู่ในกรุไม่นานนัก จึงทำให้ดูเหมือนว่ามีอายุน้อยกว่า พระสมเด็จฯ วัดระฆัง หรือ วัดบางขุนพรหม แต่พระที่ถูกใช้สัมผัสจะหนึกนุ่มและเนื้อจัด พระที่ไม่ใช้จะแห้งและสีออกขาว พระบางองค์แตกลายงา พิจารณาโดยรวมแล้ว เนื้อพระจะละเอียดและแข็งกว่าของพระสมเด็จฯ อีกสองสำนัก
อนึ่ง พระสมเด็จฯ เกษไชโย นี้ หากชำรุดหรือหักแล้วจะซ่อมอำพรางไม่ให้เห็นรอยซ่อมยาก เพราะเนื้อพระละเอียด และแน่นมาก
พุทธคุณเด่นในด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ปลอดภัยพุทธคุณจึงแรงมากๆๆๆ และมีประสบการณ์สูงมาก จึงเหมาะมากสำหรับผู้ที่อยากให้ตำแหน่งหน้าที่การงานเจริญเติบโตก้าวหน้า หรือ ผู้ที่มีใจใฝ่ทางด้านการเสี่ยงโชคลาภทุกชนิด ควรมีไว้บูชาพกพาติดตัวไว้เป็นอย่างเนืองนิจ ทั้งผู้ที่นิยม และศรัทธา รวมไปถึงผู้นำ นักการปกครอง ผู้บังคับบัญชา หรือ นักบริหารทุกระดับชั้น ข้าราชการทุกตำแหน่ง ทุกประเภทไม่ว่าชั้นผู้ใหญ่ ชั้นผู้น้อย นายทหารทุกเหล่าทัพ (โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติภารกิจอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) ตำรวจ ครูบาอาจารย์ นักพูด นักขาย (ที่ต้องหายอดลูกค้า) นักเจรจา ดารา นักร้อง นักแสดง ผู้ที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นทุกประเภท นักกีฬาทุกประเภท นักทำมาหากินทุกประเภท มนุษย์เงินเดือน ผู้ที่ต้องแข่งขันกับผู้อื่น ไม่ว่าทั้งโดยตรง หรือโดยอ้อม พ่อค้า แม่ค้า ประชาชนทั่วไป ก็ไม่ควรพลาดเช่นกัน ควรมีไว้บูชาเป็นอย่างยิ่ง
พุทธคุณแรงเกินราคา คุ้มค่ามากๆๆๆ กับความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน การมีชื่อเสียง ตำแหน่งที่สูงขึ้น การมีโชคลาภขั้นสูง มหาเสน่ห์ มหานิยมที่รุนแรง การชนะเหนือคู่แข่ง
คาถาอารธนาพระสมเด็จ
โตเสนโต วะระธัมเมนะ 
โตสัฏฐาเน สิเว วะเร 
โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง 
โตสะจิตตัง นะมามิหังข่งขันทั้งหลาย ฯลฯ เป็นต้น

พระสมเด็จฯเกษไชโย' พิมพ์ 7 ชั้นนักเลงโต(แขนติ่ง)
พระสมเด็จฯเกษไชโย' พิมพ์ 7 ชั้นนักเลงโต(แขนติ่ง)
Top