ประเภท วัตถุมงคล - webpra

ประเภท วัตถุมงคล

บทความพระเครื่อง เขียนโดย ภาคินมหาเวทย์

ภาคินมหาเวทย์
ผู้เขียน
บทความ : ประเภท วัตถุมงคล
จำนวนชม : 1513
เขียนเมื่อวันที่ : พ. - 22 เม.ย. 2558 - 05:08.52
แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ : พ. - 22 เม.ย. 2558 - 05:13.40
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)

วัตถุมงคล ในศาสนาพุทธ ที่เรียกกันว่า พระเครื่อง  หรือ เครื่องราง เป็นการสมมุติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้มีขนาดเล็ก หรือมีความเกี่ยวข้องในทางพุทธศาสนา สร้างจากแรงศรัทธา ของพุทธศาสนิกชน เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา ให้ระลึกถึง พระรัตนตรัย
   
   ปัจุบันพระเครื่อง หรือ เครื่องราง ได้รับความนิยมจากนักสะสมตั้งแต่อคีตมาจนถึงปัจุบัน นักสะสมหน้าเก่าและหน้าใหม่ ในวงการพระเครื่องมองว่าพระเครื่องและเครื่องรางนั้น เป็นทั้งพุทธคุณ พุทธศิลป์ และพุทธพาณิชย์
      - พุทธคุณ พระคุณของพระพุทธเจ้า หลักมี ๓ ประการ คือ
        ๑. พระบริสุทธิคุณ ผู้รู้แจ้งแห่งธรรมได้ด้วยพระองค์เอง
        ๒. พระปัญญาคุณ  ผู้บริสุทธิ์ไกลจากกิเลสทั้งปวง
        ๓. พระกรุณาคุณ   ผู้มีความเมตตากรุณาต่อคนอื่น
   

      หากแปลความหมายของพุทธคุณ ตามบทสวดมนต์อิติปิโส สรรเสริญพระพุทธคุณ ๙ ดังนี้
        ๑. อะระหัง แปลว่า เป็นผู้ไกลจากกิเลส
        ๒. สัมมาสัมพุทโธ แปลว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง
        ๓. วิชชาจะระณะสัมปันโน แปลว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
        ๔. สุคะโต แปลว่า เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
        ๕. โลกะวิทู แปลว่า เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
        ๖. อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ แปลว่า เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
        ๗. สัตถาเทวะมนุสสานัง แปลว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
        ๘. พุทโธ แปลว่า เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
        ๙. ภะคะวาติ แปลว่า เป็นผู้มีความเจริญจำแกธรรมสั่งสอนสัตว์
  - พุทธศิลป์ งานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา เป็นศิลปะที่เกี่ยวพันกับผู้ที่ตื่นแล้วผู้ที่เจริญโดยธรรม ช่วยกันปลดเปลื้องความทุกข์ในทางด้านจิตใจ ศิลปะประเพณีร่วมสมัย ถ่ายทอดออกมาเป็นพุทธศิลป์ งานศิลปะในหลายรูปแบบ ทั้งจิตรกรรมฝาผนัง งานประติมากรรม งานปั้นดินเผา การแกะสลักหินและแกะสลักไม้ประเภทต่างๆ   มีรากฐานที่ผูกพันกับวิถีการดำเนินชีวิต กับคนในสังคมไทยมาเป็นเวลาช้านาน มีลักษณะเฉพาะ ศิลปะแบบไทยๆ อาทิเช่น พุทธปฏิมา สถาปัตยกรรม และวรรณกรรม  เนื้อหาสาระมีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสดา เรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก กว่า ๕๕๐ เรื่อง ยังร่วมไปถึงจริยวัตรของภิกษุสงฆ์ พิธีกรรมทางศาสนา  แต่หากแปลความหมาย พุทธศิลป์ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้อธิบายความหมายไว้ว่า พุทธเจดีย์ น. เจดีย์เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า มี ๔ ชนิด คือ ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ ธรรมเจดีย์ อุทเทสิกเจดีย์
        ๑. ธาตุเจดีย์  ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
        ๒. บริโภคเจดีย์  สถานที่พระพุทธเจ้าเคยทรงใช้สอย
        ๓. ธรรมเจดีย์ ที่บรรจุพระธรรม คือพุทธพจน์
        ๔. อุทเทสิกเจดีย์ พระพุทธรูป หรือศิลปกรรมไทย งานที่ก่อเป็นยอดแหลมเป็นที่บรรจุสิ่งที่เคารพนับถือ เช่น พระธาตุ และอัฐิบรรพบุรุษ
    พุทธศิลป์ จึงมีความหมายศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นการอุทิศตน และได้รับใช้ทางพระพุทธศาสนาโดยตรง ก่อให้เกิดความเชื่อ ความศรัทธา ความเลื่อมใส ให้พระพุทธศาสนา ยั่งยืนสืบไป
 
    วัตถุมงคลอาจรวมถึงรูปสมมติของพระโพธิสัตว์ และเทพเจ้า พระอริยสงฆ์ ที่มีขนาดเล็ก หรือ สมารถพกพาได้ วัตถุมงคลทางพุทธศาสนานั้น แบ่งได้ ๒ ประเภท
-  วัตถุมงคล ภายนอก เช่น วัตถุที่สร้างมาจาก ดิน ชิน ผง โลหะ ของมงคลนาม ฯลฯ      
-  วัตถุมงคล ภายใน เรียกว่า มงคล ๓๘ ประการ ธรรมะที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และการนำไปปฎิบัติ สามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวัน คำแนะนำในการดำเนินชีวิตเพื่อความสุขและความเจริญก้าวหน้าของชีวิต ที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมไว้ ๓๘ ข้อ

      สามารถจำแนกตามลักษณะของวัตถุดิบในการจัดสร้างเป็น ๒ ประเภทหลัก คือ ประเภทพระ และ ประเภทเครื่องราง
ประเภทพระ ได้แบ่งการสร้างได้ดังนี้
๑. การแกะ เขี้ยว เขา งา กะลา ไม้
๒. การปั้น ดิน ผง ว่าน ปูน
๓. การปั๊ม ดิน ผง ว่าน ปูน โหละ
๔. การหล่อ  โลหะหลายชนิด

ประเภทเครื่องราง ได้แบ่งการสร้างได้ดังนี้
๑. การเกาะ เขี้ยว เขา งา กะลา ไม้
๒. การเขียน กระดาษ ผ้า แผ่นโลหะ
๓. การปั้น ดิน ผง ว่าน ปูน
๔. การปั๊ม ดิน ผง ว่าน ปูน โหละ
๕. การถัก ใบลาน ก้านลาน เชือก เส้นใย โลหะ
๖. การหล่อ โหละหลายชนิด

Top