กรุเสมาสามชั้น เพชรบุรี
บทความพระเครื่อง เขียนโดย ballวัดป้อม
กรุเสมาสามชั้น เพชรบุรีเพชรบุรี เป็นเมืองโบราณที่สำคัญเมืองหนึ่ง ตามหลักฐานทางด้านโบราณคดีที่พบในเมืองเพชรบุรี แสดงให้เห็นว่า เป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ ที่มีความเป็นมาด้านอารยธรรมรุ่งเรืองอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยทวารวดี ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ พระกรุเมืองเพชรบุรี ที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ กรุสมอพรือ กรุวัดค้างคาว กรุวัดปากน้ำ กรุวัดศาลาลอยศาลาลิง กรุสวนพริก กรุวัดกุฎีทอง กรุวัดนก กรุวัดรัตนตรัย และกรุวัดเสมาสามชั้น ในบรรดาพระกรุเก่า ที่เป็นหนึ่งของเมืองเพชรบุรี คือ พระกรุวัดเสมาสามชั้น สนิมแดง อันเป็นพระกรุที่งดงามทรงคุณค่า มีอายุกว่า 700 ปี พุทธลักษณะบ่งบอกถึง "ศิลปะลพบุรี" ขุดพบที่วัดเสมาสามชั้น ซึ่งเดิมเป็นวัดร้าง ปัจจุบันคือที่ตั้งของวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี (เดิมชื่อ โรงเรียนการช่างชายเพชรบุรี) แตกกรุครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2473 จำนวนไม่มากนัก และครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2513 เกิดจากนักเรียนและภารโรง โรงเรียนการช่างชายเพชรบุรี ได้ช่วยกันทำความสะอาดพื้นที่ด้านหลังโรงเรียนซึ่งติดกับวัดร้าง (วัดเสมาสามชั้น) โดยจุดไฟเผาพงหญ้าแห้งซึ่งสุมกองเป็นเนินไว้ ไฟได้ลุกลามไปถึงเนินดินแห่งหนึ่งใกล้ๆ กัน แล้วไฟก็ดับมอดไปเฉยๆ ทั้งที่บนเนินดินนั้นมีหญ้าแห้ง และวัชพืชรกรุงรัง อันเป็นเชื้อไฟได้อย่างดี นักเรียนและภารโรงจึงเอากระดาษจุดไฟโยนใส่กองหญ้าอีก แต่ก็ไม่เป็นผล ไฟติดแค่ประเดี๋ยวเดียว ก็ดับมอดเหมือนเช่นเคย เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น บรรดาครู นักเรียนและภารโรง ต่างวิพากษ์วิจารณ์กันว่า ใต้พื้นดินแถวนี้คงจะมีของดีของขลังซุกซ่อนอยู่เป็นแน่แท้ จึงช่วยกันขุดคุ้ยเนินดินนั้นดู ปรากฏว่าขุดพบเศษอิฐเก่ามากมาย และเมื่อขุดลึกลงไปอีกประมาณ 1 เมตรเศษ จึงได้พบอิฐโบราณขนาดใหญ่ปูเรียงไว้ แต่ไม่สามารถงัดแงะ หรือทุบทำลายให้แตกได้ ประจวบกับเวลานั้นใกล้มืดค่ำ ทั้งหมดจึงเลิกขุด โดยนัดกันว่า วันพรุ่งนี้ค่อยมาขุดกันต่อ ในตอนกลางคืนของวันนั้นเอง มีชาวบ้านคนหนึ่งซึ่งทราบข่าวจากเพื่อนภารโรง จึงชวนกันมาขุดต่อ และสามารถทำลายแผ่นอิฐโบราณขนาดใหญ่นั้นได้ปรากฏว่า ใต้แผ่นอิฐได้พบพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดง ประมาณ 200 องค์ ส่วนใหญ่จะหักชำรุดบริเวณพระศอ สำหรับการพิจารณาพระกรุนี้ ถ้าดูพิมพ์ทรงถูกต้องแล้วก็ต้องดูที่เนื้อพระ โดยอาศัยหลักการพิจรณา "พระเนื้อตะกั่วสนิมแดง" ซึ่งจะต้องดูที่คราบผิวสนิม ไขขาว และหินปูน สนิมแดงของพระกรุนี้ จะแดงแบบเปลือกมังคุด หรือสีลูกหว้าสุก บางองค์จะปรากฏเส้นใยแมงมุมแตกราน มีคราบไขขาวผุดออกมาจากเนื้อพระพอกพูนสลับกับสนิมแดงและมีคราบหินปูน ตลอดจนดินทรายจากกรุเกาะติด โดยแบ่งออกเป็น 4 พิมพ์คือ พุทธคุณโดดเด่นเรื่องแคล้วคลาด คงกระพันคงกระพันชาตรี และมหาอำนาจ
|