พระเครื่องยอดนิยม ที่นักสะสมควรรู้ ของคุณสิริถาวร - webpra

พระเครื่องยอดนิยม ที่นักสะสมควรรู้ ของคุณสิริถาวร

บทความพระเครื่อง เขียนโดย monty

monty
ผู้เขียน
monty (23)
บทความ : พระเครื่องยอดนิยม ที่นักสะสมควรรู้ ของคุณสิริถาวร
จำนวนชม : 3516
เขียนเมื่อวันที่ : พ. - 19 ก.พ. 2557 - 08:37.14
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)

พระเครื่องยอดนิยม ที่นักสะสมควรรู้

สำหรับท่านที่มีความสนใจอยากสะสมพระเครื่องอย่างมีทิศทาง สิริถาวรอยากแนะนำให้มือใหม่ ที่มีความสนใจจะเช่า บูชาพระเครื่อง ได้รู้กันก่อนว่า พระเครื่องที่ลงประกาศขายทั่วไปและบนเว็บไซต์นั้น มีพระเครื่องอยู่กี่ประเภท เรามาดูกันครับ….

 

1. ประเภทพระเบญจภาคี ประกอบด้วย 5 ชุด ดังนี้

 

1.1 ชุดพระสมเด็จ

 

ซึ่งมีพระในชุดเดียวกันเป็น 3 หมวด คือ หมวดพระสมเด็จวัดระฆัง หมวดพระสมเด็จบางขุนพรหม หมวดพระสมเด็จเกศไชโย ดังนี้

 

1) หมวดพระสมเด็จวัดระฆัง ประกอบด้วย

 

1. พระพิมพ์ใหญ่ หรือ พระพิมพ์พระประธาน

2. พระพิมพ์เจดีย์

3. พระพิมพ์เกศบัวตูม

4. พระพิมพ์ฐานแซม

 

2) หมวดพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม ประกอบด้วย

 

1. พระพิมพ์ใหญ่ หรือ พระพิมพ์พระประธาน

2. พระพิมพ์เส้นด้าย

3. พระพิมพ์ทรงเจดีย์

4. พระพิมพ์เกศบัวตูม

5. พระพิมพ์ฐานแซม

6. พระพิมพ์สังฆาฏิ ซึ่งมีการแบ่งเป็นพิมพ์สังฆาฏิมีหูหรือสังฆาฏิหูช้างและพิมพ์สังฆาฏิไม่มีหู

7. พระพิมพ์ฐานคู่

8. พระพิมพ์อกครฑ

9. พระพิมพ์ปรกโพธิ์

 

3) หมวดพระสมเด็จเกศไชโย ประกอบด้วย

 

1. พระพิมพ์ 7 ชั้น นิยม

2. พระพิมพ์ 7 ชั้น หูประบ่า

3. พระพิมพ์ 6 ชั้น อกตัน

4. พระพิมพ์ 6 ชั้น อกตลอด

 

นอกจากพระพิมพ์นิยมเป็นสากลที่กล่าวมาแล้ว ยังมีพระพิมพ์อื่นๆปรากฎให้พบเห็น หากแต่มีจำนวนน้อยมาก ความนิยมจึงไม่แพร่หลายและเป็นสากล

 

1.2 ชุดพระนางพญา ประกอบไปด้วยพิมพ์นิยมเป็นสากลดังนี้

 

1) พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง

2) พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง มือไม่ตกเข่า

3) พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง มือตกเข่า

4) พระนางพญา พิมพ์อกนูนใหญ่

5) พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ

6) พระนางพญา พิมพ์เทวดา

7) พระนางพญา พิมพ์อกนูนเล็ก

 

นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์อื่นๆอีก แต่มีจำนวนน้อย ความนิยมจึงลดน้อยกว่าพระพิมพ์นิยมอย่างสากล

 

1.3 ชุดพระผงสุพรรณ ประกอบไปด้วยพระพิมพ์สากลนิยม 3 พิมพ์ คือ

 

1) พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่

2) พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง

3) พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม

 

นอกจากนี้ มีการพบพระผงสุพรรณซึ่งสร้างจากวัสดุอื่นนอกจากพระที่นิยมเป็นสากล

 

1.4 ชุดพระซุ้มกอ ประกอบไปด้วยพระพิมพ์ที่ได้รับความนิยมเป็นสากล ดังนี้

 

1) พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก

2) พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก หรือ พระซุ้มกอดำ

3) พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง

4) พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก

5) พระซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปี๊ยะ

 

นอกจากนี้ ยังมีพระในกรุลานทุ่งเศรษฐีที่ได้รับความนิยม บรรจุใน พระชุดเบญจภาคี หมวดเดียวกับพระซุ้มกอ มาใช้ทดแทนกันได้

 

1.5 ชุดพระรอด พระกอบด้วยพระยอดนิยม 5 พิมพ์ ดังนี้

 

1) พระรอด พิมพ์ใหญ่

2) พระรอด พิมพ์กลาง

3) พระรอด พิมพ์เล็ก

4) พระรอด พิมพ์ตื้น

5) พระรอด พิมพ์ต้อ

 

2. ประเภทพระเนื้อดินยอดนิยม เนื่องจากพระชุดเนื้อดินถูกพบเป็นจำนวนมากทั่วภูมิภาคของประเทศ เพื่อให้ง่าย และสะดวกในการศึกษา จึงมีการจำแนกพระเนื้อดินออกเป็น 2 ชุด คือชุดพระเนื้อดินยอดนิยม และชุดพระเนื้อดินทั่วไป ในเบื้องต้น จะขอให้ศึกษาเรียนรู้รายละเอียดในส่วนของชุดพระเนื้อดินยอดนิยมก่อน ด้วยความสำคัญอันมีผลต่อภาพรวมของประเทศ ซึ่งในพระชุดเนื้อดินยอดนิยมนี้ได้แบ่งออกเป็นหมวดๆ โดยยึดเอาพื้นที่พบพระจากจังหวัดต่างๆเป็นเกณฑ์การแบ่งแยก ดังนี้

 

2.1 หมวดพระเนื้อดินยอดนิยม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่

 

1) พระขุนแผนเคลือบ วัดใหญ่ชัยมงคล

2) พระกริ่งคลองตะเคียน

3) พระวัดตะไกร

4) พระขุนแผนใบพุทธา

 

2.2 หมวดพระเนื้อดินยอดนิยม จังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่

 

1) พระขุนแผนบ้านกร่าง

2) พระขุนแผนวัดพระรูป

3) พระถ้ำเสือ เขาดีสลัก,กรุถ้ำเสือ,กรุวัดหลวง

4) พระกรุวัดสำปะซิว

 

2.3 หมวดพระเนื้อดินยอดนิยม จังหวัดลพบุรี ได้แก่

 

1) พระหลวงพ่อจุก กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

2) พระหลวงพ่อหมอ

3) พระยอดขุนผล วัดไก่

4) พระยอดขุนพล วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

5) พระเดี่ยวดำ-เดี่ยวแดง

 

2.4 หมวดพระเนื้อดินยอดนิยม จังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่

 

1) พระซุ้มโพธิ์ กรุดงแม่นางเมือง

 

2.5 หมวดพระเนื้อดินยอดนิยม จังหวัดกำแพงเพชร ได้แก่

 

1) พระกลีบจำปา

2) พระเปิดโลก

3) พระกำแพงเปิดโลก (พระเม็ดทองหลาง)

4) พระกลีบบัว

5) พระเม็ดมะลื่น

6) พระเม็ดมะเคล็ด

7) พระยอดขุนพล

8 ) พระนางพญา กำแพงเพชร

9) พระเม็ดน้อยหน่า

10) พระกรุวัดเชตุพน

 

2.6 หมวดพระเนื้อดินยอดนิยม จังหวัดสุโขทัย ได้แก่

 

1) พระนางพญาท่ามะปราง กรุวัดมหาธาตุ

2) พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ กรุตาเถรขึงหนัง

3) พระปางเปิดโลก กรุเตาทุเรียง

4) พระลีลาถ้ำหีบ กรุวัดถ้ำหีบ

5) พระแม่ย่า กรุวัดเขาแม่ย่า

6) พระลีลากล้วยตาก กรุวัดเขาพนมเพลิง

7) พระกรุวัดเชตุพน

8 ) พระกรุวัดป่ามะม่วง

9) พระกรุวัดสระศรี

10) พระร่วงซุ้มระฆัง

 

2.7 หมวดพระเนื้อดินยอดนิยม จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่

 

1) พระนางพญาท่ามะปราง

2) พระนางพญาวัดใหญ่

3) พระนางพญา กรุวัดสุดสวาท

4) พระวัดจุฬามณี

5) พระนางพญา กรุโรงทอ วัดโพธิญาณ

6) พระหลวงพ่อโต วัดชีปะขาว

7) พระซุ้มอรัญญิก กรุวัดอรัญญิก

8 ) พระซุ้มเส้นคู่ กรุโรงทอ

 

2.8 หมวดพระเนื้อดินยอดนิยม จังหวัดแพร่ ได้แก่

 

1) พระยอดขุนพล กรุวัดบ้านปิ่น

 

2.9 หมวดพระเนื้อดินยอดนิยม จังหวัดลำพูน ได้แก่

 

1) พระคง

2) พระเปิม

3) พระบาง

4) พระลือโขง

5) พระสาม

6) พระกว่าง

7) พระเลี่ยง

8 ) พระลบ

9) พระป่วย

10) พระลือหน้ามงคล

 

2.10 หมวดพระเนื้อดินยอดนิยม จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่

 

1) พระสามหอม

2) พระรอดหัวข่วง

3) พระซาวแปด

 

2.11 หมวดพระเนื้อดินยอดนิยม ภาคอีสาน ได้แก่

1) พระกรุนาดูน

2) พระกรุบังไพร

 

2.12 หมวดพระเนื้อดินยอดนิยม จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่

 

1) พระกรุวัดนางตรา

2) พระกรุท่าเรือ

 

2.13 หมวดพระเนื้อดินยอดนิยม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่

 

1) พระเม็ดกระดุม

2) พระกำแพง

 

3. ประเภทเนื้อชิน พระเนื้อชินนับเป็นพระเครื่องที่มีอายุความเก่าโดยประมาณ 500 ปี เป็นพระที่มีความหลากหลายทางพุทธศิลป์ และพบได้ทั่วไป ทุกภูมิภาคของประเทศ เป็นพระที่พบเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ถูกบรรจุกรุ จึงมีธรรมชาติที่น่าศึกษาและอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง การจำแนกพระเนื้อชินเพื่อสะดวกในการศึกษาได้แบ่งเป็น 2 ชุด คือ พระชุดเนื้อชินยอดนิยม และพระชุดเนื้อชินทั่วไป

 

พระชุดเนื้อชินยอดนิยม ซึ่งแบ่งเป็นหมวด ดังนี้

 

3.1 หมวดพระเนื้อชินยอดนิยม จังหวัดลพบุรี ได้แก่

 

1) พระร่วงยืน หลังลายผ้า เนื้อตะกั่วสนิมแดง กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

2) พระนาคปรก กรุวัดปืน เนื้อชินเงิน

3) พระนาคปรก กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เนื้อชินเงิน

4) พระร่วงยืน กรุถ้ำมหาเถร เนื้อชินเงิน

5) พระยอดขุนพล เนื้อตะกั่วสนิมแดง กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

6) พระยอดขุนพล เนื้อชินเงิน กรุวัดไก่

7) พระเทริดขนนก เนื้อชินเงิน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

8 ) พระหลวงพ่อพัด เนื้อชินเงิน

9) พระร่วงนั่ง กรุม่วงค่อม เนื้อตะกั่วสนิมแดง

 

3.2 หมวดพระเนื้อชินยอดนิยม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่

 

1) พระปรุหนัง พิมพ์บัวเบ็ด เนื้อชินเงิน กรุวัดมหาธาตุ

2) พระยอดขุนพล เนื้อชินเงิน กรุวัดราชบูรณะ

3) พระนาคปรก เนื้อชินเงิน กรุวัดพะงั่ว

4) พระหูยาน เนื้อชินเงิน กรุวัดราชบูรณะ

 

3.3 หมวดพระเนื้อชินยอดนิยม จังหวัดสุโขทัย ได้แก่

 

1) พระร่วงนั่งหลังลิ่ม เนื้อชินเงิน กรุวัดช้างล้อม

2) พระร่วงยืนทรงเกราะ เนื้อชินเขียว กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

 

3.4 หมวดพระเนื้อชินยอดนิยม จังหวัดกำแพงเพชร ได้แก่

 

1) พระลีลา กำแพงขาว เนื้อชินเงิน กรุวัดบรมธาตุ วัดอาวาสน้อย

2) พระลีลา เชยคาง ข้างเม็ด เนื้อชินเงิน กรุวัดอาวาสน้อย

3) พระท่ามะปราง เนื้อชินเงิน กรุวัดอาวาสน้อย

 

3.5 หมวดพระเนื้อชินยอดนิยม จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่

 

1) พระลีลา เนื้อชินเงิน กรุวัดวังหิน

2) พระอัฏฐารถ เนื้อชินเขียว กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

3) พระท่ามะปราง เนื้อชินเงิน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ-กรุวัดท่ามะปราง

 

3.6 หมวดพระเนื้อชินยอดนิยม จังหวัดชัยนาท ได้แก่

 

1) พระหลวงพ่อพัด เนื้อชินเงิน กรุสรรคบุรี

 

2) พระลีลา เนื้อชินเงิน กรุสรรคบุรี (พระสรรคยืน)

 

3.7 หมวดพระเนื้อชินยอดนิยม จังหวัดนครปฐม ได้แก่

 

1) พระร่วงนั่ง พิมพ์รัศมี เนื้อตะกั่วสนิมแดง กรุวัดกลาง

 

3.8 หมวดพระเนื้อชินยอดนิยม จังหวัดเพชรบุรี ได้แก่

 

1) พระเทริดขนนก เนื้อตะกั่วสนิมแดง กรุเสมาสามชั้น

 

3.9 หมวดพระเนื้อชินยอดนิยม จังหวัดกาญจนบุรี ได้แก่

 

1) พระร่วงยืน เนื้อตะกั่วสนิมแดง กรุวัดถ้ำเขาพุพระ

 

3.10 หมวดพระเนื้อชินยอดนิยม จังหวัดพิจิตร ได้แก่

 

1) พระพิจิตร เม็ดข้าวเม่า เนื้อชินเงิน กรุวัดมหาธาตุ

 

3.11 หมวดพระเนื้อชินยอดนิยม จังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่

 

1) พระนาคปรก เนื้อตะกั่วสนิมแดง กรุวัดลาวทอง

2) พระร่วงยืน เนื้อตะกั่วสนิมแดง กรุวัดหนองแจง

 

3.12 หมวดพระเนื้อชินยอดนิยม จังหวัดสิงห์บุรี ได้แก่

 

1) พระร่วงยืน เนื้อตะกั่วสนิมแดง กรุวัดศรีโสฬส

 

4. ประเภทพระเนื้อผงยอดนิยม พระเนื้อผงนับเป็นพระที่มีการสร้างในยุคหลัง ซึ่งสร้างโดยพระคณาจารย์โบราณในอดีตผู้เรืองพระเวทย์วิทยาคุณเป็นส่วนใหญ่ มีสร้างกันมาอย่างต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น แม้กระทั่งในปัจจบันก็ยังยึดแนวทางปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเกิดมีพระเนื้อผงขึ้นมากมาย หากแต่พระที่ได้รับความนิยมเป็นสากล มีการแบ่งเป็น พระชุดเนื้อผงยอดนิยม และ พระชุดเนื้อผงทั่วไป

 

โดยจะกล่าวเฉพาะเนื้อผงยอดนิยม พระเนื้อผงยอดนิยมแบ่งเป็น 2 หมวดดังนี้

 

4.1 หมวดพระเนื้อผงยอดนิยมประจำ จังหวัดกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล ได้แก่

 

1) พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ

2) พระวัดรังษี วัดรังษีสุทธาวาส

3) พระผงวัดพลับ วัดราชสิทธาราม

4) พระวัดสามปลื้ม กรุงเทพมหานคร

5) พระผงพระพุทธบาทปิลันทน์ วัดระฆังโฆสิตาราม

6) พระวัดท้ายตลาด วัดโมลีโลกยาราม

7) พระหลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร

8 ) พระเพชรหลีก วัดใต้

9) พระบึงพระยาสุเรนทร์ วัดพระยาสุเรนทร์

10) พระวัดเงิน คลองเตย

11) พระผงของขวัญ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

12) พระสมเด็จ กรุเจดีย์เล็ก วัดใหม่อมตรส

13) พระผงของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เจริญ วัดเทพศิรินทร์

14) พระขรัวอีโต้ วัดเลียบ

15) พระผงหลวงปู่เผื่อก วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ

 

เนื่อง จากกรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่เป็นต้นกำเนิดของพระประเภทพระเนื้อผง ทั้งมีการสืบสานการสร้างพระประเภทนี้มาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่นิยมแพร่หลายมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางของพระประเภทเนื้อผง และปรากฏพระยอดนิยมประเภทนี้มากที่สุดในประเทศไทย นอกเหนือจากนี้จะมีเพียงประปรายในบางจังหวัด จึงเห็นสมควรที่จะแบ่งเป็น 2 หมวดใหญ่ ดังที่กล่าวมา

 

4.2 หมวดพระเนื้อผงยอดนิยมจังหวัดต่างๆ

 

1) พระหลวงพ่อปั้น วัดสะพานสูง จังหวัดนนทบุรี

2) พระวัดเฉลิม จังหวัดนนทบุรี

3) พระหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก กรุงเทพมหานคร

4) พระหลวงพ่อหม่น คลอง 12 จังหวัดปทุมธานี

5) พระกรุวัดอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

6) พระวัดปากบาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

7) พระวัดทับเข้า จังหวัดสุโขทัย

 

5. ประเภทพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ และรูปหล่อยอดนิยม สำหรับ พรกริ่ง-พระชัยวัฒน์และรูปหล่อยอดนิยม ถือเป็นการสร้างพระที่มีคตินิยมมาจากการจำลองพระพุทธรูปที่สำคัญ ศักดิ์สิทธิ์ ตลอดจนพระคณาจารย์ผู้เลิศทั้งวัตรปฏิปทา ปฏิบัติดีงามจนเป็นที่ยอมรับนับถือ มาเป็นองค์พระขนาดเล็ก ไว้พกติดตัว หรือไว้ประจำบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล ส่วนมากจะสร้างจากเนื้อโลหะต่างๆ ขึ้นรูปแบบลอยองค์สำหรับพระเครื่องประเภทนี้ แบ่งเป็น 2 ชุด คือ 5.1 ชุดพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์

 

5.2 ชุดรูปหล่อ ยอดนิยม

 

โดยแต่ละชุด แยกเป็น 2 หมวด คือ หมวดพระยอดนิยม และหมวดพระทั่วไป ซึ่งในที่นี้จะกล่าวเฉพาะชุดพระยอดนิยม คือ

 

5.1 หมวดพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ยอดนิยม ได้แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

 

5.1.1 พระกริ่งนอก (หมายถึง พระกริ่งนอกประเทศ หรือสร้างจากประเทศอื่น ไม่ได้สร้างในประเทศไทย) พระที่ได้รับความนิยมมีดังนี้

 

1) พระกริ่งจีนใหญ่

2) พระกริ่งบาเก็ง

3) พระกริ่งหนองแส

4) พระกริ่งพัทรีตีอ๋อง

5) พระกริ่งตั๊กแตน

 

5.1.2 พระกริ่งที่สร้างจากวัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร ได้แก่

 

1) พระกริ่งที่สร้างโดยเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ)

2) พระกริ่งที่สร้างโดยท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์)

 

5.1.3 พระกริ่งที่สร้างจากวัดบวรนิเวศวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ได้แก่

 

1) พระกริ่งปวเรศ

2) พระกริ่งไพรีพินาศ

 

5.1.4 พระกริ่งที่สร้างโดยหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง ได้แก่

 

1) พระกริ่งชินบัญชร

 

5.2 หมวดพระรูปหล่อยอดนิยม ประกอบด้วย

 

1) พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร

2) พระรูปหล่อหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์

3) พระรูปหล่อหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จังหวัดนครสวรรค์

4) พระรูปหล่อหลวงพ่อทองสุข วัดโพธิ์ทรายทอง จังหวัดบุรีรัมย์

5) พระรูปหล่อหลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ จังหวัดสระบุรี

6) พระรูปหล่อหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ได้แก่ รุ่นก้นลายเซ็นต์ และรุ่นเบตง

7) พระรูปหล่อท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม กรุงเทพมหานคร

8 ) พระรูปหล่อหลวงพ่อทบ วัดชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์

9) พระรูปหล่อหลวงพ่อเขียน วัดถ้ำขุนเณร จังหวัดพิจิตร

 

6. ประเภทเหรียญยอดนิยม วัตถุ มงคลประเภทเหรียญ เริ่มมีครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือเป็นการจำลองสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธรูป พระคณาจารย์ตลอดจนผู้ที่ควรเคารพ นำมาแกะลวดลายทำแม่พิมพ์ เพื่อการปั๊ม หรือ หล่อลงในแผ่นโลหะให้ปรากฎรูปที่ต้องการ

 

จาก การศึกษาพบว่า พระเครื่องประเภทเหรียญนี้ จะให้ข้อมูลการศึกษาได้ละเอียดถี่ถ้วนที่สุด ดังข้อความที่จารึกไว้ปรากฏบนเหรียญ จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นพระเครื่องที่ง่ายแก่การศึกษาเรียนรู้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชุด คือ ชุดเหรียญยอดนิยม และชุดเหรียญทั่วไป โดยในแต่ละชุดได้แยกเป็นเหรียญหล่อ กับเหรียญปั๊ม โดยจะนำเสนอเหรียญยอดนิยมมาให้ศึกษา ดังนี้

 

6.1 หมวดเหรียญหล่อยอดนิยม ได้แก่

 

1) เหรียญหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง กรุงเทพมหานคร

2) เหรียญหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร

3) เหรียญหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก จังหวัดนครปฐม

4) เหรียญหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จังหวัดนครปฐม

5) เหรียญหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม

6) เหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม จังหวัดสมุทรสงคราม

7) เหรียญหลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม จังหวัดสมุทรสงคราม

8 ) เหรียญหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม

9) เหรียญหลวงพ่อกล่อม วัดโพธาวาส จังหวัดสุราษฎร์ธานี

10) เหรียญหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จังหวัดสมุทรสงคราม

11) เหรียญหลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน จังหวัดสมุทรสาคร

12) เหรียญวัดระฆังหลังฆ้อน กรุงเทพมหานคร

13) เหรียญหลวงปู่ขัน วัดนกกระจาบ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

14) เหรียญเมฆสิทธิ์ วัดอนงค์ กรุงเทพมหานคร

15) เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท

16) เหรียญหยดน้ำ วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม

17) เหรียญวัดราชบพิตร กรุงเทพมหานคร

 

6.2 หมวดเหรียญปั๊มยอดนิยม ได้แก่

 

1) เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

2) เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กรุงเทพฯ

3) เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท

4) เหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม จังหวัดสมุทรสงคราม

5) เหรียญหลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม จังหวัดเพชรบุรี

6) เหรียญหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จังหวัดฉะเชิงเทรา

7) เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

8 ) เหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ กรุงเทพมหานคร

9) เหรียญหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน กรุงเทพมหานคร

10) เหรียญหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์

11) เหรียญครูบาศรีวิชัย จังหวัดเชียงใหม่

12) เหรียญหลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม จังหวัดลพบุรี

13) เหรียญหลวงปู่ขาว วัดหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

14) เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดเกาะพงัน จังหวัดสุราฎร์ธานี

15) เหรียญหลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม จังหวัดปราจีนบุรี

16) เหรียญหลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา จังหวัดปราจีนบุรี

17) เหรียญหลวงพ่อศุข วัดโตนดหลวง จังหวัดเพชรบุรี

18) เหรียญหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม

19) เหรียญหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จังหวัดเพชรบุรี

20) เหรียญหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จังหวัดนครสวรรค์

21) เหรียญอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

22) เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง จังหวัดภูเก็ต

23) เหรียญหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี รุ่นแรก พ.ศ.2500

24) เหรียญหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี รูปไข่ รุ่น 2 พ.ศ.2502

25) เหรียญหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี รูปเสมาลงยา รุ่น 3 พ.ศ.2504

26) เหรียญหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี รูปเสมา รุ่นเลื่อนสมณศักดิ์ พ.ศ.2508

27) เหรียญหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี รูปเสมา พุดซ้อน พ.ศ.2509

28) เหรียญพระพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา

29) เหรียญวัดพระแก้ว กรุงเทพมหานคร

30) เหรียญพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก

31) เหรียญวัดไชโยวรมหาวิหาร จังหวัดอ่างทอง

32) เหรียญมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

33) เหรียญวัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

34) เหรียญพระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร

35) เหรียญปวเรศ วัดบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร

36) เหรียญพุทธ 25 ศตวรรษ กรุงเทพมหานคร

 

7. ประเภทพระปิดตายอดนิยม พระ ปิดตา ถือเป็นพระเครื่องประเภทที่พบน้อยที่สุด เนื่องจากในสมัยโบราณพระส่วนมากจะเป็นพระที่ทำขึ้นจากมือครั้งละองค์ จึงนับเป็นพระที่หายาก หากแต่เป็นพระที่ศรัทธาของนักสะสมเป็นอย่างยิ่งประเภทหนึ่ง แบ่งตามวัสดุ ที่นำมาสร้างเป็น 3 ชุด ดังนี้

 

7.1 ชุดพระปิดตาเนื้อผงยอดนิยม ได้แก่

 

1) พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี

2) พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง จังหวัดนนทบุรี

3) พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน กรุงเทพมหานคร

4) พระปิดตาหลวงปู่จีน วัดท่าลาด จังหวัดฉะเชิงเทรา

5) พระปิดตาหลวงปู่เจียม วัดกำแพง จังหวัดชลบุรี

6) พระปิดตาหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท

7) พระปิดตาวัดพลับ กรุงเทพมหานคร

8 ) พระปิดตาหลวงปู่ภู่ วัดนอก ชลบุรี

9) พระปิดตาหลวงปู่ครีพ วัดสมถะ (อุทยานนที) จังหวัดชลบุรี

10) พระปิดตากรมหลวงชุมพร สร้างโดยหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท

11) พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ จังหวัดสมุทรปราการ

12) พระปิดตาหลวงพ่อพิม วัดหนองแหน จังหวัดฉะเชิงเทรา

13) พระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จังหวัดกาญจนบุรี

14) พระปิดตาหลวงพ่อครน วัดบางแซะ รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย

15) พระปิดตาวัดหนัง กรุงเทพมหานคร พิมพ์ข้าวตอกแตก และพิมพ์หัวบานเย็น

16) พระปิดตาวัดทอง กรุงเทพมหานคร

17) พระปิดตาหลวงพ่อกล่อม วัดบางกระพี้ จังหวัดอุตรดิตถ์

18) พระปิดตาอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม จังหวัดปทุมธานี

19) พระปิดตาหลวงพ่อผุด วัดวังเวียน จังหวัดจันทบุรี

20) พระปิดตาพิมพ์ปั้น วัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี

 

7.2 ชุดพระปิดตาเนื้อโลหะยอดนิยม ได้แก่

 

1) พระปิดตาวัดหนัง กรุงเทพมหานคร

2) พระปิดตาวัดทอง กรุงเทพมหานคร

3) พระปิดตาแร่บางไผ่ จังหวัดนนทบุรี

4) พระปิดตาห้วยจระเข้ จังหวัดนครปฐม

5) พระปิดตาท้ายย่าน จังหวัดชัยนาท

6) พระปิดตาบางเดื่อ จังหวัดนนทบุรี

7) พระปิดตาเนื้อทองผสมพบตามถ้ำโดยทั่วไปใน จังหวัดนครศรีธรรมราช

8 ) พระปิดตาวัดพะเนียงแตก จังหวัดนครปฐม

9) พระปิดตาเมฆสิทธิ์ วัดอนงค์ กรุงเทพมหานคร

10) พระปิดตาวัดโพธิ์เอน จังหวัดสระบุรี

 

7.3 ชุดพระปิดตาไม้แกะ ได้แก่

 

1) พระปิดตาสมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร

2) พระปิดตาวัดโมฬี จังหวัดนนทบุรี

3) พระปิดตาหลวงพ่อรอด วัดโคนอน กรุงเทพมหานคร

 

8. ประเภทพระเนื้อว่านยอดนิยม แบ่งเป็น 2 ชุด คือ

 

8.1 พระชุดเนื้อว่านยุคเก่า ได้แก่

 

1) พระเนื้อว่านจำปาสัก แขวงเมืองจำปาสัก ประเทศลาว

2) พระเนื้อว่านหน้าทอง จังหวัดสุโขทัย พบด้วยกันหลายกรุ อาทิเช่น กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดช้างล้อม กรุวัดเจดีย์สูง

3) พระเนื้อว่านหน้าทอง จังหวัดกำแพงเพชร พบด้วยกันหลายกรุ อาทิเช่น กรุวัดพระบรมธาตุ กรุวัดพระนอน กรุวัดพิกุล กรุวัดอาวาสน้อย กรุวัดอาวาสใหญ่ กรุวัดป่ามืด กรุวัดพระสี่อิริยาบท

 

8.2 พระชุดเนื้อว่านที่พระเกจิอาจารย์เป็นผู้สร้าง ได้แก่

 

1) พระเนื้อว่านหลวงปูทวด วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ที่สร้างโดย พระครูวิสัยโสภณ หรือ ท่านอาจารย์ทิม อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ทำการปลุกเสกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ.2497 แบ่งเป็น 3 พิมพ์ ซึ่งสามารถแยกออกเป็นหมวดใหญ่ๆได้ดังนี้

 

1.1 พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก พ.ศ.2497 พิมพ์ใหญ่ แยกเป็น

 

-พระพิมพ์ใหญ่แจกกรรมการ

 

-พระพิมพ์ใหญ่หัวมีขีด

 

-พระพิมพ์ใหญ่ลึก

 

-พระพิมพ์ใหญ่ไหล่มีจุด

 

1.2 พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก พ.ศ.2497 พิมพ์กลาง แยกเป็น

 

-พระพิมพ์กลางลึก

 

-พระพิมพ์กลางชะลูด

 

-พระพิมพ์กลางอกแฟบ

 

-พระพิมพ์กลางหน้ากลม

 

1.3 พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก พ.ศ.2497 พิมพ์เล็กหรือพิมพ์พระรอด แยกเป็น

 

-พระพิมพ์พระรอดแจกกรรมการ

 

-พระพิมพ์พระรอดหน้าใหญ่

 

-พระพิมพ์พระรอดหน้ากลาง

 

-พระพิมพ์พระรอดหน้าเล็ก

 

-พระพิมพ์พระรอดต้อ

 

1.4 พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก พ.ศ.2497 พิมพ์ต้อ แยกเป็น

 

-พระพิมพ์ต้อใหญ่

 

-พระพิมพ์ต้อกลาง

 

-พระพิมพ์ต้อเล็ก

 

2) พระเนื้อว่านคณาจารย์ทั่วไป ได้แก่

 

-พระเนื้อว่านรูปหลวงปู่ทวด วัดพะโค๊ะ จังหวัดสงขลา

 

-พระเนื้อว่านรูปหลวงปู่ทวด วัดเมือง จังหวัดยะลา

 

-พระเนื้อว่านรูปหลวงปู่ทวด วัดทรายขาว จังหวัดปัตตานี

 

3) พระเนื้อว่าน หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

9. เครื่องราง-ของขลังยอดนิยม วัตถุมงคลประเภทนี้ ถือว่าเป็นวัตถุมงคลที่มีอายุความเป็นมาเก่าแก่ที่สุด และการสร้างเครื่องรางนั้นมีมาก่อนจะมีการสร้างพระเครื่องนับแต่โบราณกาล สิ่งที่น่าสนใจคือ อารยธรรมของการสร้างเครื่องราง-ของขลังนั้นมีแพร่หลายในทุกภูมิภาคของโลกไม่ ว่าจะเป็นซีกโลกตะวันออก หรือ ตะวันตก แม้แต่ในประเทศที่ได้รับการยอมรับว่าทันสมัยที่สุดเป็นประเทศผู้นำในด้าน ต่างๆของโลก ล้วนแต่มีวัฒนธรรมการสร้างเครื่องรางตามความเชื่อมาแต่ครั้งบรรพกาล ดังนั้น สิ่งที่หลายท่านอาจจะมองว่าเป็นความงมงาย ขาดสาระที่สุดนั้น แท้จริงคือสิ่งที่ทั่วโลกรู้จักคุ้นเคยกันดี ในรูปแบบที่เรียกกันว่า เครื่องราง-ของขลัง

 

เครื่อง ราง-ของขลังนั้นมีมากมายหลายลักษณะ และสร้างจากวัสดุต่างๆมากมายที่สุดในบรรดาวัตถุมงคลทั้งหมดที่ปรากฏ สำหรับประเทศไทย เครื่องราง-ของขลังที่ได้รับความนิยมเป็นสากล แบ่งเป็น 9 ประเภท ดังนี้

 

9.1 เครื่องรางประเภทตะกรุด ได้แก่

 

1) ตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง จังหวัดนนทบุรี

2) ตะกรุดหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม

3) ตะกรุดหลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง จังหวัดพิจิตร

4) ตะกรุดหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ จังหวัดสมุทรสงคราม

5) ตะกรุด วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) กรุงเทพมหานคร

6) ตะกรุดหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก จังหวัดนครปฐม

7) ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่แจ้ง วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร

8 ) ตะกรุดหลวงปู่นาค วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร

 

9.2 เครื่องรางประเภทเบี้ยแก้ ได้แก่

 

1) เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง กรุงเทพมหานคร

2) เบี้ยแก้หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม

3) เบี้ยแก้หลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ จังหวัดอ่างทอง

4) เบี้ยแก้หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน จังหวัดอ่างทอง

5) เบี้ยแก้หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ จังหวัดอ่างทอง

6) เบี้ยแก้หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม

 

9.3 เครื่องรางประเภทเขี้ยวเสือ ได้แก่

 

1) เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ

2) เขี้ยวเสือหลวงพ่อนก วัดสังกะสี จังหวัดสมุทรปราการ

3) เขี้ยวเสือหลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์

 

9.4 เครื่องรางประเภทหนุมาน ได้แก่

 

1) หนุมานหลวงพ่อสุ่น (ทั้งไม้แกะ และงาแกะ) วัดศาลากุน จังหวัดนนทบุรี

2) รูปแกะลิงหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จังหวัดฉะเชิงเทรา

3) หนุมานหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ จังหวัดสมุทรปราการ

 

9.5 เครื่องรางประเภทสิงห์ ได้แก่

 

1) สิงห์หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์

2) สิงห์หลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์

3) สิงห์หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว จังหวัดนครสวรรค์

4) สิงห์หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก จังหวัดระยอง

5) สิงห์หลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ จังหวัดอ่างทอง

6) สิงห์หลวงพ่อรอด วัดบางน้ำวน จังหวัดสมุทรสงคราม

 

9.6 เครื่องรูปสัตว์อื่นๆ ได้แก่

 

1) เครื่องรางรูปแพะ หลงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก จังหวัดระยอง

2) วัวธนู หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จังหวัดนครปฐม

 

9.7 เครื่องรางประเภทราหู ได้แก่

 

1) ราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จังหวัดนครปฐม

2) ราหูครูบาวัง วัดบ้านเด่น จังหวัดตาก

3) ราหูครูบานันตา วัดทุ่งม่านใต้ จังหวัดลำปาง

 

9.8 เครื่องรางประเภทปลัดขิก ได้แก่

 

1) ปลัดขิกหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จังหวัดฉะเชิงเทรา

2) ปลัดขิกหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

3) ปลัดขิกอาจารย์ขลิก วัดสาวชะโงก จังหวัดฉะเชิงเทรา

4) ปลัดขิกหลวงพ่อโศก วัดธรรมศาน (วัดปากคลองบางครก) จังหวัดเพชรบุรี

 

9.9 เครื่องรางประเภทลูกอม-ชูชก ได้แก่

 

1) ลูกอมเมฆสิทธิ์ วัดอนงค์ กรุงเทพมหานคร

2) ลูกอมหลวงพ่อเนียม วัดน้อย จังหวัดสุพรรณบุรี

3) ชูชกหลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน จังหวัดสมุทรสงคราม

4) ลูกอมหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก กรุงเทพมหานคร

5) ลูกอมหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม

6) ลูกอมหลวงพ่อร้าย วัดเขายี่สาย จังหวัดสมุทรสงคราม

 

Top