พระรอด วัดพระสิงห์ - webpra

พระรอด วัดพระสิงห์

บทความพระเครื่อง เขียนโดย Aof_GM

Aof_GM
ผู้เขียน
บทความ : พระรอด วัดพระสิงห์
จำนวนชม : 2383
เขียนเมื่อวันที่ : พ. - 18 ธ.ค. 2556 - 11:33.31
แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ : จ. - 23 ธ.ค. 2556 - 15:48.51
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)

พระรอดวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ ปี 2496
เป็นพระที่ติด 1 ใน 10 พระยอดนิยมของภาคเหนือ มาโดยตลอด

          พระรอดวัดพระสิงห์ สร้างขึ้นยุคเดียวกับพระหลวงพ่อทวดเนื้อว่าน ปี 2497 ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกัน หลวงพ่อทวดเนื้อว่านก็เป็นพระที่เป็นส่วนผสมของ ว่าน แร่ ดิน เป็นภูมิปัญญาถิ่นพื้นบ้านทางภาคใต้ พระรอดวัดพระสิงห์ก็เช่นกัน เนื้อหามวลสารกรรมวิธีการสร้าง ถอดแบบการสร้างตามการสร้างพระรอด กรุวัดมหาวัน ซึ่งก็เป็นไปตาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นเช่นกัน ดังนี้ พระรอดวัดพระสิงห์ จึงเป็นพระที่ น่าศึกษา ไม่ต่างจากการศึกษา หลวงพ่อทวดเนื้อว่านปี 2497 ในยุคเดียวกัน แตกต่างกันที่เป็นพระเครื่องคนละท้องถิ่นเท่านั้นเอง

 

 

อ้างอิงคอลัมน์ มุมพระเก่า
โดยอภิญญา

 

          ประสบการณ์ของ "พระรอดวัดพระสิงห์"ก็เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณ ชน เช่น ในคราวที่เกิดสงครามเวียดนามประเทศไทยได้ส่งทหารไปร่วมรบกับอเมริกา ส.อ.ธาริน แสงศิริ ได้ถูกส่งตัวไปร่วมรบด้วย (กองพันเสือดำ) ซึ่งส.อ. ธารินได้เล่าว่า ได้รับพระรอดรุ่น 96 จากบิดาคล้องคอไปเพียงองค์เดียวเมื่อได้รับมอบหมายให้ออกลาดตระเวนขากลับขณะกำลังกลับเข้าค่ายก็โดนระเบิดและถล่มยิงด้วยอาวุธหนักของเวียดกง ชนิดที่ว่าไม่ได้ตั้งตัว ส.อ.ธารินบอกว่าขณะกำลังล้มตัวลงเพื่อยิงต่อสู้ได้เห็นเพื่อนทหารร่วมกองลาดตระเวนโดนอาวุธของเวียดกงล้มตายกันเกลื่อนกลาดมารู้ตัวอีกทีก็อยู่บนเตียงในโรงพยาบาลแล้ว ร่างกายไม่มีบาดแผลแต่ปรากฏรอยช้ำเป็นจุดๆ ทั่วร่างกาย

ปัจจุบันนี้ "พระรอดของวัดพระสิงห์"ยังพอหาได้ตามสนามพระ แต่ต้องดูให้ดี พระที่สร้างมาแล้วห้าสิบปีจะยังสดใหม่และมีกลิ่นดินไม่ได้แล้ว สนนอัตราเช่าหาก็ยังไม่สูงมาก อยู่ในหลักพันกว่าๆ เท่านั้นยังไม่สูงเกินไป ห้อยพระหลักพันพุทธคุณไม่ต่างจากพระหลักแสน หลักล้านอย่างนี้สิครับถึงเรียกได้ว่า "ของดีราคาถูก"อย่างแท้จริง

พระรอดวัดพระสิงห์มีทั้งหมด 11 พิมพ์ด้วยกันสีขององค์พระก็มีหลายสี ที่พบกันมากก็ได้แก่ เนื้อเขียว เนื้อแดง เนื้อพิกุลที่พบน้อยคือ สีเทา สีขาว และสีดำ ที่ว่ามี 11 พิมพ์ 11 สีนั้นอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนกันสักเล็กน้อย ที่ว่ามี 11 พิมพ์นั้นถูกต้องแต่สีของพระรอดวัดพระสิงห์ รวมถึงพระรอดอื่นๆนั้นต้องทำความเข้าใจกันตามหลักวิชาการสักนิดว่า

พระรอดที่กล่าวนี้ทำมาจากเนื้อดินซึ่งการจะทำให้เนื้อพระแกร่งนั้นต้องนำไปผ่านความร้อนโดยการอบ หรือการเผาเหมือนกับอิฐหรือเซรามิก ซึ่งแน่นอนต้องมีการนำพระจำนวนมากเข้าเตาเผาเพราะมากมายถึง 84,000 องค์

ดังนั้นความร้อนจากการเผาจึงไม่สามารถสัมผัสกับองค์พระได้ครบทุกองค์สำหรับองค์ที่ใกล้กับไฟหรือสัมผัสกับความร้อนมากที่สุดจะมีสีดำ และสีเขียวและหดเล็ก เพราะสูญเสียความชุ่มชื้นหรือน้ำที่อยู่ในตัวดิน บางองค์เกิดหมัดไฟเป็นเม็ดเล็กๆ แตกกระจายตามองค์พระบริเวณต่างๆ คล้ายอีสุกอีใสซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาของธาตุบางอย่างในดินกับความร้อน

ส่วนองค์ที่อยู่ตรงกลางๆ ซึ่งไม่ผ่านหรือผ่านไฟหรือความร้อนน้อยก็จะมีสีดินธรรมชาติ และขนาดโตกว่าองค์สีดำ และสีเขียว เพราะไม่เกิดการหดตัวมากนักโดยไล่ไปตามสีน้ำตาล สีแดง สีเทา สีเหลือง สีพิกุล สีขาว แต่ก็ไม่เสมอไปขึ้นอยู่กับว่าเป็นพิมพ์ใด

ดังนั้น สีของพระจึงไม่อาจกำหนดได้ตอนกดพิมพ์พระแต่จะมาคัดแยกสีกันตอนกรรมวิธีสร้างพระเสร็จสมบูรณ์แล้วโดยมีการแยกตามโทนสีจากเข้มไปอ่อน จึงอาจมีโทนสีมากกว่า หรือน้อยกว่า 11 สีก็ได้และราคาในขณะนั้นก็ไม่ได้แยกตามสี แต่ให้เช่าบูชาในราคาเดียวกัน

"
พระรอดวัดพระสิงห์" ที่สมบูรณ์จริงๆ มีไม่ถึง 84,000 องค์เช่นเดียวกับพระรอดมหาวัน บางองค์จึงอาจแตกหัก ชำรุด สภาพใช้การไม่ได้บางส่วนหลังจากทำพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระสิงห์แล้วยังถูกนำไปเข้าพิธีปลุกเสกที่วัดสุทัศน์อันเลื่องชื่ออีกด้วยโดยทำพิธีปลุกเสกโดยเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ และคณะสงฆ์ ปีละ 2 วาระทุกปีเรื่อยมาจนกระทั่งเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์มรณ ภาพ ถ้าจำไม่ผิดประมาณปี 2507 จึงหยุดพิธีปลุกเสกจึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อว่าพระรอดวัดสุทัศน์โดยเอกลักษณ์คือมีการปั๊มด้วยหมึกสีม่วงใต้ฐานพระทุกองค์ทำให้พระรอดวัดสุทัศน์ไม่ค่อยพบในสนามพระมากนัก และมีราคาเช่าหาสูง

นอกจากนั้นยังมีอีกบางส่วนที่เกจิอาจารย์ชื่อดังสมัยนั้น อาทิหลวงพ่อเงิน นำกลับไปปลุกเสกเดี่ยวให้กับศิษยานุศิษย์ด้วยพระรอดวัดพระสิงห์นอกจากมีเจตนาสร้างมาเพื่อหารายได้สร้างพุทธ สถานเชียงใหม่ (ปัจจุบันอยู่ใกล้จวนผู้ว่าฯ และบ้านพักอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5) แล้วยังมีเจตนาสร้างมาเพื่อใช้แทนพระรอดมหาวัน ลำพูน ตั้งแต่สมัยนั้นแล้วจึงมีผู้คนกล่าวกันว่า หากหาพระรอดมหาวันไม่ได้ก็หาพระรอดวัดพระสิงห์แทนราคาหลักพันถึงหลักหมื่น (ตามพิมพ์และตามสภาพ) แต่พุทธคุณหลักล้าน

 

ที่มา :

วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7539 ข่าวสดรายวัน

 

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOREl4TURjMU5BPT0=

 

Top