วิวัฒนาการของการสร้างเหรียญ - webpra

วิวัฒนาการของการสร้างเหรียญ

บทความพระเครื่อง เขียนโดย mahachonburi

mahachonburi
ผู้เขียน
บทความ : วิวัฒนาการของการสร้างเหรียญ
จำนวนชม : 3616
เขียนเมื่อวันที่ : พฤ. - 13 ก.ย. 2555 - 12:57.13
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)

ขออนุญาตินำบทความที่เจอมาลงครับ

http://www.dd-pra.com/upload/upload/128618861220468750_1.jpg

เหรียญ ปั๊ม มีการสร้างกันมาตั้งแต่ พศ. ๒๔๔๐ เช่นเหรียญพระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศซึ่งค่านิยมสูงมากๆ จากที่พระเครื่องมีราคาสูงมานี่เองทำให้ผู้ทำปลอมมีการพัฒนาแบบชนิดที่เรียก ว่า ใกล้เคียงของแท้จริงๆ ยิ่งถ้าพูดถึงตำหนิด้วยแล้วของปลอมปัจจุบันทำได้เหมือนมาก จะต่างก็แต่ความคมชัดของรายละเอียดเช่น ตัวยันต์ ตัวหนังสือ เส้นแตกต่างๆ หรือรอยเจาะหูในเหรียญทีมีหู แต่จุดสำคัญที่สุดที่จะกล่าวถึงในวันนี้คือเรื่อง การพิจารณาขอบข้างของเหรียญครับ
การดู ขอบข้างเหรียญเป็นวิธีดูตามหลักของเซียนพระยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นบทสรุปว่า พระองค์นั้นแท้หรือไม่ เพราะขอบข้างเหรียญจะไม่สามารถทำได้เหมือนจริง ผู้ที่จะศึกษาเรื่องเหรียญ ต้องเข้าใจธรรมชาติของเหรียญที่ทำ เพระเป็นขอบเหรียญจะเกิดจากขั้นตอนการสร้างนั่นเอง
ขอบข้างเหรียญแบ่งเป็นลักษณะรอยขอบ เป็น 3 ลักษณะคือ
1...เหรียญ แบบปั๊มข้างเลื่อย......ก็เหมือนกับการปั๊มพระในปัจจุบันแต่จะปั๊มในแผ่น โลหะที่มีขนาดใหญ่กว่าเหรียญ เมื่อปั๊มเสร็จ ก็จะมาเลื่อยฉลุให้เหรียญได้ตามรูปทรงนั้นๆ ( พอดีกรอบ ) เหรียญลักษณะนี้ จะสร้างในยุค ปีพ.ศ. ๒๔๔๐-๒๔๘๕ ( ข้อมูลจากหนังสือคุณบอย ท่าพระจันทร์ ) เหรียญแบบข้างเลื่อยนี้เราจะเห็นรอยเลื่อยอยู่บริเวณขอบเหรียญ ซึ่งเราก็ต้องศึกษาการเลื่อยของเหรียญด้วยประกอบการพิจารณา หากเราทราบว่าเหรียญรุ่นไหนเป็นแบบข้างเลื่อยแล้ว เมื่อเจอเหรียญรุ่นนั้นเป็นแบบอื่น ก็ไม่จำเป็นต้องไปไล่ติหนิอีกให้เสียเวลา เพราะเป็นพระปลอมแน่นอน
2...เหรียญ แบบปั๊มข้างกระบอก...(ตีปลอก ) เป็นเทคนิคสมัยก่อน ตัดโลหะให้เป็นรูปทรงตามเหรียญใกล้เเหรียญเป็นบล๊อคแล้วปั๊ม ขอบจึงเรียบ บางเหรียญก็จะมีขอบคม ๆ ปลิ้นมาด้านหลัง เหรียญชนิดนี้จะสร้างในยุค พ.ศ. ๒๔๔๐-๒๔๘๕ เช่นเหรียญมงคลบพิตรปี ๒๔๖๐ เหรียญยอดนิยมอย่างเหรียญขอเบ็ดหลวงปู่กลั่น วัดพระญาติฯ ก็มีตำหนิธรรมชาติจากการปั๊มตีปลอก

3....เหรียญ ปั๊มข้างตัด เป็นวิวัฒนาการสมัยใหม่ เกิดในยุคหลัง เนื่องจากการสร้างแบบเลื่อยขอบและปั๊มข้างกระบอกเป็นการทำที่ยุ่งยากเสีย เวลา เป็นการใช้เครื่องจักรทีทันสมัย แต่การทำเหรียญแบบนี้ยุคแรกๆ ขอบเหรียญจะมีลักษณะมนๆ ไม่ค่อยมีริ้วรอยมากนักแต่อย่างไรก็ดี หากจำรอยตัดได้ไม่ว่าจะด้านใดด้าน หนึ่ง ก็หมดสิทธิ์โดนของเก๊แน่นอนครับ เพราะสมัยนี้เก๊ตำหนิได้ครบแต่ยังเก๊ขอบไม่ได้

รอย ข้างขอบเหรียญหรือรอยตัดเป็นตัวยุติปัญหาเก๊แท้ อย่างแม่นยำที่นักสะสมพระ เครื่องควรทราบและศึกษา เพราะเรื่องรอยข้างเป็นสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติ ดั้งเช่นในเรื่อง ของกองพิสูตรหลักฐานอาชฌากรรมจากปากกระบอกปืน ยังทราบว่าหัวลูกปืนมาจากปากกระบอกปืนกระบอกใดหรือ แม้แต่ต่างประเทศในคดี สำคัญ ๆ ยังยึดถือเอารอยตัดของๆมีคม เป็นหลักฐานสำคัญในการชี้เป็นชี้ตายให้แก่คดีฆาตกรรมมาแล้ว เพราะรอยตัดของมีดแต่ละเล่มจะทิ้งร่อยรอยไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกันกับขอบปั๊มเหรียญจะทิ้งร่องรอยเฉพาะที่ไม่เหมือนกันเช่นกันครับ


ด้วย เหตุนี้ รอยข้างขอบเหรียญ หรือรอยตัด รอยเลื่อย จึงเป็นสิ่งที่นักสะสมควรศึกษา และควรรู้ว่า รุ่นไหนมีการสร้างแบบใด เพราะถ้าเราทราบ การสร้างแบบใดแล้ว หากรอยข้างขอบตัดเหรียญผิดจากเหรียญที่ศึกษามา ก็ไม่จำเป็นต้องดูส่วนอื่นๆ แล้วครับ เพราะเหรียญนั้นเก๊หรือปลอมแน่นอน
อย่าง ไรก็ดี ผมเห็นว่าเรื่อง รอยข้าขอบเหรียญ เป็นสิ่งที่น่าจะเป็นประโยขน์กับเพื่อนๆ ชาวดีดี จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง และเพื่อเป้นการศึกษา ในส่วนตัวผมก็เริ่มศึกษาเหมือนกัน ยังไม่เก่งอะไร ก็แค่เก็บเล็กผสมน้อย ตามที่มีอยู่ในสมองอันน้อยนิดนี้ โดยต้องขอขอบคุณ หนังสือ คุณบอย ท่าพระจันทร์ด้วย ที่ทำให้ได้ข้อมูลดีๆมาเผยแพร่ให้กับ นักสะสมพระเครื่องรุ่นใหม่ๆ ได้ศึกษาครับ
สวัสดี..........คร๊าบบบบบ

Top