หลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิโต ( พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ )
ปี 2512-2515 เนื้อผง พระสมเด็จอกครุฑเศียรบาตร หลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิโต
สมเด็จอกครุฑเศียรบาตร ฝังตะกรุด 3 กษัตริย์ หลังพัด
สมเด็จอกครุฑเศียรบาตร ฝังตะกรุด 3 กษัตริย์ หลังพัด
สมเด็จอกครุฑเศียรบาตร หลังพัด
สมเด็จอกครุฑเศียรบาตร หลังพัด
ชื่อพระเครื่อง | ปี 2512-2515 เนื้อผง พระสมเด็จอกครุฑเศียรบาตร หลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิโต |
---|---|
อายุพระเครื่อง | 0 ปี |
หมวดพระ | พระเนื้อผง ดิน ว่าน อื่นๆ |
สถานะ | |
จำนวนคนชม | 26915 |
เข้าทำเนียบตั้งแต่วันที่ | พ. - 06 เม.ย. 2554 - 09:33.53 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อ. - 26 เม.ย. 2554 - 06:03.52 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระเนื้อผงของหลวงพ่อนั้นมีการสร้างจำนวนมาก หลายรุ่น ทั้งมีเอกลักษณ์ และไม่มีเอกลักษณ์ โดยแทบทุกรุ่น เกิดจากการสร้างถวายจากลูกศิษย์ด้วยใจศรัทธา ในปี พ.ศ. 2512 - 2515 อันเป็นช่วงเฟื่องฟูของการสร้างพระ ส่วนมากทำการสร้างเกิดขึ้นในวัดมิใช่พระโรงงาน จึงถือเป็นมาตรฐานได้ประมาณ 6 พิมพ์ 1. พระสมเด็จหลังพัด 2. พระสมเด็จ พิมพ์พระประธาน หลังรูปเหมือนเต็มองค์ 3. พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ 4. พระสมเด็จ พิมพ์คะแนน 5. พระสมเด็จ พิมพ์มุ่ย 5000 เล็ก 6. พระสมเด็จ พิมพ์มุ่ย 5000 ใหญ่ ---------------- พระสมเด็จหลังพัด จากความริเริ่มของพระอาจารย์เหรียญ และนายอนันต์ วัชระโกมลพันธ์ ได้เห็นว่าขณะนั้นมีแต่การสั่งวัตถุมงคลจากโรงงานมาทั้งสิ้น ทั้งเหรียญ รูปหล่อ และแหนบ ทำให้มีต้นทุนสูง จึงคิดทำพระเนื้อผงกันเอง มีกำลังเท่าใดก็ทำเท่านั้น จึงได้สั่งทำพิมพ์ที่กรุงเทพฯว่าจ้างช่างแถวสะพานควายเป็นผู้แกะพิมพ์ สั่งช่างไปว่าให้แกะพิมพ์ไกเซอร์ ส่วนด้านหลังให้ทำรูปหลวงพ่อพร้อมยันต์และชื่อ แต่เมื่อถึงกำหนดวันรับพิมพ์ ปรากฎว่าช่างแกะพิมพ์ด้านหลังไม่ทัน แกะเสร็จเพียงยันต์และชื่อหลวงพ่อเท่านั้น จึงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยใช้แหนบอัลปาก้าติดแทน ที่มาของคำว่าสมเด็จหลังพัดจึงเป็นด้วยเหตุนี้ รุ่นหลังพัดแรกๆเป็นรุ่นทดลอง มีเนื้อหลายสูตร สีสันของพระจึงมีมากมายหลายหลาก เพราะตำกันหลายครก จนมาลงตัวด้วยสูตรของ นายชิต ช่างทำพระบ้านบางแอก เนื้อยุคแรกๆ จะแก่ว่าน แก่มวลสารมาก นับว่าเป็นสูตรที่สมบูรณ์แบบที่สุด เพราะปั๊มได้คมชัดโดยไม่ต้องใช้แป้งโรยแม่พิมพ์ จำนวนการสร้าง : เนื้อผง - เนื้อผง ฝังตะกรุด 3 กษัตริย์ - |