เมืองขอนแก่น
พระร่วงยืน พิมพ์พนมมือ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น
พระร่วงยืน พิมพ์พนมมือ เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์พนมมือ เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์พนมมือ เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์พนมมือ เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์พนมมือ เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์พนมมือ เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์พนมมือ เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์พนมมือ เนื้อชินเงิน
ชื่อพระเครื่อง | พระร่วงยืน พิมพ์พนมมือ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น |
---|---|
อายุพระเครื่อง | 0 ปี |
หมวดพระ | พระกรุ |
สถานะ | |
จำนวนคนชม | 7357 |
เข้าทำเนียบตั้งแต่วันที่ | ศ. - 13 พ.ค. 2554 - 03:24.27 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พ. - 01 ส.ค. 2555 - 15:31.47 |
รายละเอียด | |
---|---|
กรุที่มีการค้นพบ - กรุวัดวังเพิ่ม ศิลปะยุค - ศิลปะลพบุรียุคปลาย จำนวน - สภาพสมบูรณ์ประมาณ 8,000 องค์ - พิมพ์พนมมือ (พนมกร) - พิมพ์ห้ามพยาธิ (ห้ามเจ็บห้ามไข้) ห้ามญาติ (ห้ามญาติพี่น้องทะเลาะเบาะแว้งกัน) บทความนี้ได้คัดลอกมาจาก saranugrompra.com ---ที่มาของการเปิดกรุพระร่วง กรุวังเพิ่มนั้นครั้งแรกเลยนั้นเป็นการพบโดยบังเอิญ ครั้งที่สองเป็นการเปิดกรุจากการใช้เครื่องมือเปิดทุ่นระเบิดตรวจค้น วังเพิ่มนับเป็นตำบลหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอสีชมภู จังหวัดขอนแก่น ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 113 กม. ตามถนนสายกรุงเทพชุมแพ พื้นที่พบพระเราสามารถเข้าได้ 2 ทาง คือ เข้าทางวังเพิ่มระยะทาง 5 กม. เข้าทางบ้านขมิ้น (ทุ่งนา) 2 กม. พื้นที่เหล่านี้เป็นเขตติดต่อสามหมู่บ้านคือ บ้านบุ่งเม่น-บ้านขมิ้น-บ้านหนองอู่ พื้นภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา มองไปทางด้านหน้าจะพบเทือกเขาอันยาวเหยียดไม่ห่างไกลนัก เวลาน้ำท่วม น้ำท่วมไม่ถึงจึงเหมาะแก่การทำไร่ปอแก้ว ทำไร่มันสำปะหลัง พื้นที่ลุ่มก็ทำนา ข้ามฟากไปทางด้านโน้น เป็นเขตอำเภอภูเวียง นักธรณีวิทยากล่าว่า พื้นที่แห่งนี้เคยมีมนุษย์อาศัยอยู่เป็นกลุ่มก้อนมาก่อนภายหลังได้อพยพเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่อื่นที่สมบูรณ์กว่า จึงปล่อยทิ้งร้างว่างเปล่า ต่อมาคนรุ่นใหม่ได้เข้าไปบุกป่าทำนาทำไร่ ต่ออีก ชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนาได้ขุดพบพระเนื้อสำริด และเทวรูปสำริด ตลอดจนของเก่าแก่มากมายในท้องที่แห่งนี้ มีทั้งเครื่องประดับ ต่างหู, หม้อ, ไห, กำไรแขน อันเป็นของโบร่ำโบราณทั้งสิ้น ได้ถูกฝังจมดินไว้ให้คนรุ่นหลังได้รู้เห็น นับว่าเป็นนิมิตหมายอันดีของพื้นที่ดังกล่าว ---เมื่อประมาณ 10 ปีล่วงมาแล้ว มีประชาชนคนแถบวังเพิ่มได้ขุดพบพระกรุ เป็นพระร่วงเนื้อตะกั่วสนิมแดงประมาณ 123 องค์ พบพระเมื่อเดือนพฤษภาคม 2527 จะมีพระเนื้อชินบ้างเป็นส่วนน้อย เมื่อเรื่องราวของการพบพระครั้งนั้นก็ทำให้นักล่าสมบัติแผ่นดินอยากจะเข้าไปเผชิญโชคบ้าง เพราะถ้ามีกรุพระเครื่องแล้วโดยมากมักจะมีพระกรุ (บูชา - เทวรูป) รวมอยู่ด้วย ดังนั้นในภาคอีสานทั้งหมดแทบทุกตารางนิ้วจะมีของโบร่ำโบราณฝังจมดินอยู่ ทั้งที่ได้พบมามากต่อมาก ต่อมาก็มีทั้งที่ยังไม่พบก็ยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงมีนักล่าสมบัติชุดหนึ่ง ที่อำเภอเชียงดาวซึ่งทำมาหากินในถิ่นอีสาน รู้ข่าวคราวการแตกกรุนี้ ก็ปรึกษาพรรคพวกเพื่อนฝูง เพื่อจะทำการค้นหากรุพระร่วงนี้อีกครั้ง ---ครั้นแล้วเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2536 สี่วันยังค้นไม่พบ ทำให้รู้สึกท้อแท้ใจพอถึงวันที่ 5 ก็เป็นดีเดย์ที่นักขุดชุดดังกล่าวต้องหัวเราะกันท้องแข็ง เพราะได้พบพระอย่างสมใจนึก คือ พบกรุพระใหญ่ที่สุดในภาคอีสานก็ว่าได้ พบพระจำนวน 8,000 องค์ พระชำรุดไม่นับ เมื่อพบแล้วทุกคนก็ดีอกดีใจและหายเหนื่อย นับเป็นโชคอันมหันต์ที่ได้พบพระกรุใหญ่ๆ ในครั้งนี้ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ชาวบ้านเรือนเดียวกันรู้ข่าว ต่างแบกจอบแบกเสียมเพื่อไปค้นหากันจ้าละหวั่น แต่อนิจจาสู้เครื่องตรวจไม่ได้เสียแล้ว เพราะเครื่องตรวจนี้เป็นเทคนิคชนิดหนึ่งของการตรวจทุ่นระเบิดในสงคราม (เครื่องตรวจทุ่นระเบิดสงคราม) ซึ่งมีคุณภาพดีกว่าการหาโดยการเดาสุ่ม ---เมื่อพบพระแล้ว และนำพระใส่ลังไม้ฉำฉาเสร็จก็นำกลับมายังโคราชบ้านเรา และส่งพระต่อไปยังทางภาคเหนือ เช่น ลำพูน, ลำปาง, เชียงใหม่, แพร่, น่าน, เชียงราย, พะเยา แต่ไม่มีใครสนใครนัก กลัวจะเป็นของปลอมกันเลยไม่กล้าเช่าหรือบูชากัน ปัจจุบันเริ่มรู้แล้วว่า พระร่วงกรุวังเพิ่มเป็นของแท้และแน่นอน ไม่ใช่ของปลอมรู้สึกว่า ชักจะมีคนสนใจมากขึ้นทุกขณะ ผู้เขียนขอยืนยันว่า พระกรุดังกล่าวเป็นพระกรุแท้จริงเป็นพระดี (ไม่ใช่ของปลอม) เป็นพระศิลปลพบุรียุคหนึ่ง ฝีมือช่างนอกเมือง มีด้วยกันถึง 3 พิมพ์ทรง มีเอกลักษณ์ในตัวเอง -พิมพ์พนมมือ (พนมกร) คล้ายพระอัครสาวกขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า พระพักตร์ตรง -พิมพ์ห้ามพยาธิ (ห้ามเจ็บห้ามไข้) ห้ามญาติ (ห้ามญาติพี่น้องทะเลาะเบาะแว้งกัน) ตามพุทธประวัติ มีทั้งพิมพ์ใหญ่ - เล็ก -พิมพ์ห้ามพยาธิ (ใหญ่) ห้ามญาติ (ใหญ่) ไม่ปรากฏว่ามีพระเนื้อตะกั่วสนมแดงเลย ---แม่พิมพ์หรือวัสดุที่นำมาประกอบการสร้าง ได้แก่แม่พิมพ์ (ตัวผู้- ตัวเมีย) เบ้าพิมพ์เหล่านี้เป็นฝีมือช่างโบราณสมัยเก่าทั้งด้านหน้า-และด้านหลัง ทั้งด้านหน้าและด้านหลังประกบกัน แล้วช่างจะหล่อเทเมื่อหลอมละลายเนื้อชินเงิน หรือวัสดุที่จะนำมาหล่อ เมื่อหล่อเสร็จแล้วก็จะไม่มีการตกแต่งเหมือนพระยุคใหม่ๆ คือปล่อยไปตามธรรมชาติเลยทีเดียว คนโบราณเขาสร้างสรรค็ไว้คนสมัยใหม่จะไม่อนุรักษ์ ปล่อยเลยตามเลยเช่นนั้นหรือ พระร่วงกรุขอนแก่นสามารถย้อยรอยถึงอดีตได้ คนไทยเรามักจะลืมง่าย เห็นเป็นเรื่องไร้สาระ ขอทีเถอะครับ การเห็นแก่ตัวเล็กๆ น้อยๆ เป็นสิ่งที่ไม่บังควร ศิลปสามารถย้อนรอยถึงอดีตได้ ทำให้คนรุ่นใหม่รู้เรื่องราวได้ ฉะนั้นพระร่วงกรุนี้ก็เป็นศิลปหนึ่งที่เราควรจะรักและหวงแหนไว้ให้ลูกหลานเหลนของเราไว้ได้เชยชม ถึงแม้ว่า พระกรุนี้จะไม่มีความงดงามมากนัก แต่มีหลักประกันถึงความเก่า ช่างโบราณได้เน้นหนักความบริสุทธิ์ใจที่มีอยู่อันเป็นเอกลักษณ์อย่างแท้จริงขององค์ท่าน ---พระร่วงกรุนี้ มีอิทธิฤทธิ์ บุญฤทธิ์ และปาฏิหาริย์อันน่าเชื่อถือได้คือ มีเพื่อนคนหนึ่ง พกพระร่วงไว้ในกระเป๋าเสื้อ รถเกิดอุบัติเหตุพังทั้งคันแต่รอดตายมาได้ราวปฏิหาริย์ อย่างนี้ไม่เรียก ปาฏิหาริย์แล้วจะเรียกอะไรกันครับ ใครพบพระกรุนี้ในราคาถูกๆ เช่าไว้เถอะครับวันหน้า และโอกาสหน้าจะหายากนะจะบอกให้ |