พระหูยานลพบุรี ชินเงิน (กรุเก่า)-ต้นดอนเมือง พระเครื่องไทย - webpra
ร้าน..ต้นดอนเมือง..ยินดีรับใช้ครับ..

หมวด พระกรุ เนื้อชิน

พระหูยานลพบุรี ชินเงิน (กรุเก่า)

พระหูยานลพบุรี ชินเงิน (กรุเก่า) - 1พระหูยานลพบุรี ชินเงิน (กรุเก่า) - 2
ชื่อร้านค้า ต้นดอนเมือง พระเครื่องไทย - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระหูยานลพบุรี ชินเงิน (กรุเก่า)
อายุพระเครื่อง 706 ปี
หมวดพระ พระกรุ เนื้อชิน
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ zman_poonsart_99@hotmail.com
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ จ. - 20 พ.ค. 2556 - 12:18.33
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 20 พ.ค. 2556 - 12:18.33
รายละเอียด
พระหูยาน ลพบุรี
...ถ้าเป็นพระพิมพ์ยืนต้องยกให้พระร่วงหลังลายผ้า แต่ถ้าพระพิมพ์นั่งล่ะก็ต้องเป็นพระหูยาน ลพบุรี" คำกล่าวยกย่องพระยอดนิยมประจำจังหวัดลพบุรี และ "พระยอดขุนพล" ระดับประเทศ เราว่ากันไปแล้วสำหรับพระพิมพ์ยืน ฉบับนี้มาถึงพระพิมพ์นั่งกันบ้างครับผม
พระ หูยาน ลพบุรี สร้างเมื่อสมัยขอมยังเรืองอำนาจในแผ่นดินพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 เมื่อประมาณ 700 กว่าปีมาแล้ว สมัยนั้นพระองค์ทรงใช้เมืองละโว้ (ลพบุรี) เป็นศูนย์กลางในการบัญชาราชการงานบ้านเมือง ศาสนา ศิลปะ ดังนั้นวิทยาการทั้งหลายแหล่ของขอมล้วนมีกำเนิดที่เมืองละโว้ ทั้งสิ้น
พระหูยานลพบุรี เป็นพระพิมพ์เนื้อชิน พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย บนกลีบบัวเล็บช้าง แบบชั้นเดียวและสองชั้น (บัวคว่ำ-บัวหงาย) พระเกศเป็นรูปบัวตูม พระพักตร์คว่ำแสดงถึงญาณอันแก่กล้า และมีลักษณะเคร่งเครียดอันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะขอม พระกรรณยาวจดพระอังสา วงการพระเครื่องจึงขนานนามว่า "พระหูยาน"
พระหูยานลพบุรี มีการขุดค้นพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี เป็นหลัก จึงนิยมเรียกกันติดปากว่า "พระหูยาน ลพบุรี" นอกจากนี้ ยังมีปรากฏที่กรุอื่นๆ อีกเช่น กรุวัดอินทาราม กรุวัดปืน กรุวัดราษฎร์บูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา พระหูยานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี พระหูยานกรุวัดค้างคาว จ.เพชรบุรี และพระหูยานเมืองสรรค์ เป็นต้น
พระหูยาน ลพบุรี มีทั้งหมด 3 พิมพ์ คือ พระหูยาน พิมพ์ใหญ่ ขนาดสูงจากฐานถึงยอดสุดประมาณ 5.5 ซ.ม. พระหูยาน พิมพ์กลาง และพระหูยาน พิมพ์เล็ก ซึ่งจะมีขนาดลดหลั่นกันลงมา
พระหูยาน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี มีการแตกกรุออกมาครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2450 เราเรียกว่า "พระกรุเก่า" ผิวจะปลอดจากคราบผิวปรอทขาวโพลน มีขุมสนิมกัดกินลึกในเนื้อ มีรอยระเบิดแตกปริ ต่อมาได้มีการขุดค้นอย่างไม่เป็นทางการหลายครั้งหลายคราว จนกระทั่งปี พ.ศ.2508 ก็แตกกรุออกมาอีกเป็นจำนวนมากที่บริเวณพระเจดีย์องค์เล็กหน้าพระปรางค์ จึงให้ชื่อว่า "พระกรุใหม่" ส่วนมากจะมีพรายปรอทขาวซีดๆ ทั้งอยู่ในสภาพสมบูรณ์งดงามมาก มีเพียงบางองค์ที่มีรอยแตกปริและขุมสนิมบางส่วน เสมือนหนึ่งเป็นคำประกาศยืนยันถึงความเก่าแก่ของอายุขัย พระกรุใหม่บางส่วนถูกฝังรวมไว้กับพระพุทธรูปบูชาซึ่งเมื่อเวลาเกิดคราบสนิม จะเป็นสีเขียว "คราบเขียวของพระพุทธรูปบูชา" นี้ได้ลุกลามไปติดเป็นคราบสนิมของพระหูยานกรุใหม่ด้วย จึงกลายเป็นตำหนิสำคัญที่นักเลงพระเครื่องเนื้อชินเขาใช้ประกอบในการพินิจ พิจารณาพระหูยานกรุใหม่
นอกจากนี้ วงการพระเครื่องยังได้กำหนดลักษณะหรือศิลปะของพระหูยานลพบุรี แยกไว้เป็น 2 แบบ คือ พระหูยานหน้ายักษ์และพระหูยานหน้ามงคล สำหรับพิมพ์ด้านหลังของพระหูยานลพบุรี จะมีเอกลักษณ์เหมือนกันหมดทุกพิมพ์ คือ เป็นลายผ้ากระสอบที่ความถี่-หยาบเหมือนกันทุกองค์
"พระ หูยาน ลพบุรี" ไม่ว่าจะกรุเก่า กรุใหม่ หรือกรุใดๆ ก็ล้วนเป็นเลิศด้วยพุทธคุณ ทั้งด้านคงกระพันชาตรีตามแบบฉบับของขอม และเมตตามหานิยม สมคำยกย่องจริงๆ ครับผม

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top