เรียนรู้จากประสบการณ์พระสมเด็จวัดระฆัง - webpra

เรียนรู้จากประสบการณ์พระสมเด็จวัดระฆัง

บทความพระเครื่อง เขียนโดย Engineer

Engineer
ผู้เขียน
บทความ : เรียนรู้จากประสบการณ์พระสมเด็จวัดระฆัง
จำนวนชม : 8440
เขียนเมื่อวันที่ : พ. - 20 เม.ย. 2554 - 16:29.24
แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ : พ. - 20 เม.ย. 2554 - 23:32.16
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)

 เรียนรู้จากประสบการณ์

          ก่อนอื่นผมขอแจ้งเจตนารมณ์ว่าไม่มีเจตนาอะไรแอบแฝงใดๆ ไม่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อเว็บพระใดๆทั้งสิ้น เป็นเพียงนำเสนอข้อมูลที่มีความคิดตามหลักสากลบนพื้นฐานของความเป็นจริงแก่เพื่อนๆ นักสะสมพระเครื่อง ผมมีเจตนาที่ดีต่อทุกๆท่าน และในสังคมพระออนไลน์นี้ ทุกๆท่านไม่ต้องเชื่อผมเพียงคนเดียว ต้องฟังหูไว้หู เช่าพระต้องเช่าด้วยตาไม่เช่าด้วยหู ลองอ่านดูอย่างช้าๆ แล้วคิดตามนะครับ ซึ่งในตอนท้ายของเรื่องผมขอรบกวนเพื่อนๆนักสะสมพระเครื่อง รวมทั้งผู้ดูแลเว็บช่วยพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พระประธาน ทั้ง 2 องค์ให้ด้วยครับจักขอบคุณยิ่ง เข้าเรื่องเลยละกันครับ

การพิจารณาตัดสินฟันธงลงไปเลยว่าพระไม่แท้จากภาพถ่ายพระเพียงอย่างเดียวนั้นยุติธรรมหรือไม่ แน่นอนครับการพิจารณาพระเครื่องต่างๆ เช่นพระสมเด็จฯ ซึ่งส่วนใหญ่ในเว็บมักจะไม่แท้ พระสมเด็จวัดระฆัง, บางขุนพรม,เกศไชโย อันเป็นพระเครื่องที่หมายปองของนักสะสมและมีมูลค่าการตลาดสูงต้อง การพิจารณาต้องรอบครอบในการตัดสิน ต้องได้ดูจากองค์จริงจึงจะตัดสินได้ การพิจารณาเพียงภาพถ่ายก็สามารถทำได้โดยการดูพิมพ์ทรงและผิวพันพรรณพอสังเขปเท่านั้น พระไม่แท้ท่านต้องอธิบายความผิดปกติในภาพถ่ายนั้นให้ได้ หรือพิมพ์ทรงถูกต้องตามหลักสากลนิยมแล้วลำดับต่อไปคือต้องจับกล้องมาส่องพระถูกไหมละครับ ส่วนตัวยอมรับว่ามีพระสมเด็จฯ, สมเด็จบางขุนพรมบางองค์ และพระหลักราคาแพงของสมาชิกหลายท่านที่ผิดลักษณะจริงๆ เพื่อเป็นทางออกที่ดีลดปัญหาความคลาแคลงใจซึ่งอาจจะก้าวล่วงไปถึงผู้ที่ให้บูชาต่อๆกันมา หรือไปสดุดตอเข้าอย่างจัง และเพื่อเป็นการพัฒนาไปสู่ความเป็นเว็บที่มีบรรทัดทาน และมารตราฐานน่าเชื่อถือสูงสุดของประเทศต่อไป การกำหนดคำว่า “พระไม่แท้” ลงไปในนั้นจงใจตัดสินแบบฟันธงโดยขาดความรอบครอบ ควรหาคำใหม่ที่แสดงความนุ่มนวลกว่านี้หรือให้เห็นว่าพระองค์นี้จะต้องพิจารณาให้ระเอียดก่อนตัดสินใจ แต่ถึงอย่างไรร้านค้าจะมีกติกาของร้านในการรับประกันความแท้อยู่แล้ว และอีกทางคือทางเว็บมีบริการเช่าอย่างปลอดภัยหากไม่เชื่อใจ การแจ้งเตือนผู้ประกอบการก่อนล่วงหน้า อธิบายเหตุผลให้รับทราบถึงความไม่แท้อย่างไร หรือขอให้ทางเว็บได้ตรวจสอบองค์จริงก่อนหน้าจะเป็นทางออกที่ดี เสมือนมีหมายเรียกก่อน ก่อนออกหมายจับอะไรทำนองนั้น

            หากกล่าวถึงพระสมเด็จวัดระฆัง ที่สร้างโดยท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ในที่นี้เรามาว่ากันเฉพาะพิมพ์ทรงเท่านั้นจะไม่ลงในรายละเอียดของเนื้อพระ, คราบกรุ, ผิวพระ ส่วนใหญ่แล้วผู้นิยมพระเครื่องจะไปหลงติดอยู่กับภาพพระเครื่องในหนังสือชี้จุดตำหนิที่ทำออกมาขายซึ่งส่วนใหญ่มักจะสรุปลงไปเลยว่าหากผิดไปจากหนังสือหรือตามสื่อที่เคยเห็นมาแล้วนั้นเก๊ ทั้งๆที่รูปถ่ายในพระพิมพ์เดียวกันในหน้าถัดไปของหนังสือเล่มเดียวกันไม่เห็นมีจุดตำหนิอย่างที่กล่าวไว้ก็มี บรรดาผู้ตั้งตนเป็นผู้ชำนาญรวมตัวกันจัดพิมพ์หนังสือโดยเกือบจะลอกแบบจากตำราของคนรุ่นเก่านำออกว่างจำหน่าย ถึงกระนั้นเรารวมทั้งผมก็ได้ถือเป็นแนวปฏิบัติจะได้เป็นสากลนิยม แต่ในทางตรงกันข้ามเมื่อใดพระฯอยู่ในมือเซียนใหญ่เมื่อนั้นคือพระแท้แม้จะแตกต่างจากตำราที่ตนเขียน เขาเหล่านั้นสามารถโน้มน้าวจิตใจให้เห็นผิดเป็นถูกได้ ถ้าใช้สำนวนโบราณอาจกล่าวได้ว่า “เขียนด้วยมือ ลบด้วยเท้า” คงไม่รุนแรงไปนะครับ ต้องขออภัย...อันที่จริงพระสมเด็จวัดระฆังนั้นมีการสร้างหลายครั้งหลายวาระ การใช้แม่พิมพ์ตัวเดิมพระก็จะมีรายละเอียดในพิมพ์ทรงเหมือนกันทุกองค์ นั้นคือวิทยาศาสตร์ ที่แตกต่างก็คงเป็นเนื้อพระที่อาจมีส่วนผสมที่ไม่เหมือนกัน ส่วนผิวพระนั้นเกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของเนื้อพระกับอากาศเป็นตัวกระทำกันตามธรรมชาติเป็นเวลานับอายุร้อยกว่าปีจะเกิดปรากฏการณ์ขึ้นตามผิวพระลงไปถึงเนื้อพระ ความแตกต่างบนพื้นผิวหรือตำหนิในพิมพ์นั้นถูกกำหนดให้เป็นไปตามผู้ใช้บูชาติดตัวกับผู้บูชาเก็บรักษาซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการใช้สายตาพิจารณากับภาพถ่ายพระเพียงอย่างเดียวนั้นคงไม่เพียงพอเป็นแน่ ปัจจุบันนี้พระฝีมือที่ทำออกมาต้องยอมรับว่าสามารถทำหรือถอดพิมพ์ได้ใกล้เคียงมากแต่ถึงยังไงแล้วก็ต้องมีจุดที่สามารถ นำมาพิจารณาความแท้ หรือไม่แท้ได้อย่างแน่นอน หากมีเวลาหาหนังสือพระสมเด็จฯยุดเก่าๆ มาดูแล้วจะพบว่าบรรดาอาจารย์ที่ชี้ขาดพระแท้นั้นเขาให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรเป็นสำคัญ ตามตำราของบุคลากรที่มีความน่าเชื่อถือในวงการพระรุ่นเก่าๆ ได้กล่าวไว้ว่า ”การพิจารณาพระสมเด็จฯ หนึ่งพิมพ์ต้องถูก สองเนื้อต้องใช่ สามความเก่าต้องมี หากพิมพ์ถูกต้องก็แท้แล้ว 50% เนื้อใช่แท้ 25% มีความเก่าถึงอายุก็แท้ 25% รวมแล้ว 100% หากผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าไม่ใช่พระสมเด็จวัดระฆัง อาจเป็นของวัดอื่นก็ได้ การพิจารณาด้านพิมพ์ทรงอันเกิดจากแม่พิมพ์นั้นจะบงบอกรายละเอียดได้หลากหลาย เช่น องค์พระที่ประดิษฐานในกรอบรวมทั้งเส้นสายต่างๆ ตำหนิที่เกิดจากแม่พิมพ์ ประการที่สำคัญพระสมเด็จฯ จะมีเส้นบังคับแม่พิมพ์ เส้นนี้คงเป็นจุดมาร์กให้ผู้จัดสร้างสามารถตัดเนื้อเกินได้ถูกต้อง ดังนั้นขนาดความสูง-ความกว้างของพระสมเด็จวัดระฆังจะมีขนาดแน่นอน ขนาดนี้จะแตกต่างเล็กน้อยก็ตรงที่การตัดขอบนั้นตัดชิดหรือห่างจากเส้นบังคับแม่พิมพ์ อีกทั้งรอยการตัดขอบพระ, รอยการปาดหลัง, การยุบตัวหดตัว, รอยปริ-แยกตามธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวตัดสินความจริง ไม่ใช่จากสายตาเปล่าๆบนภาพถ่าย ซึ่งการพิจารณาพิมพ์ทรงของพระสมเด็จฯ อาจแตกต่างจากการพิจารณาพระหล่อโบราณอย่างเช่น หลวงพ่อเงินวัดบางคลานพิมพ์ขี้ตาซึ่งเป็นงาน handmade ของช่างและชาวบ้านที่ศรัทธาในหลวงพ่อ แม่พิมพ์ต้นแบบนั้นมีอยู่หลากหลายจุดตำหนิ, พิมพ์ทรง, ขนาดองค์พระอาจแตกต่างกันได้เล็กน้อย สำหรับเนื้อเกินนั้นไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะเกิดที่จุดนั้นขององค์พระเสมอเนื่องจากกรรมวิธีการหล่อแบบโบราณ ส่วนตัวผมจะพิจารณามิติของพิมพ์และงานศิลป์แล้วก็จะพิจารณาในธรรมชาติที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งดูเนื้อหามวลสารผสมเป็นสำคัญ ท่านเคยได้ยินคำว่าพระพันตา หรือไม่ พระพันตาคือพระที่ทุกคนเห็นแล้วต้องลงความเห็นเดียวกันว่า แท้ แต่ความจริงแล้วผู้ดูเขามีความรู้จริงหรือไม่ตรงนี้เราไม่สามารถทราบได้ถึงภูมิความรู้ที่แท้จริงของเข้า หรือว่าตามกันไปแบบ เซียนใหญ่ว่าแท้ พวกเขาก็ต้องแท้ตามอย่างนั้นหรือ ส่วนตัวแล้ว พระพันตา ไม่สำคัญเท่า “พระสองตา เพราะ สองตา นั้นเป็นของเราไม่ต้องไปกังวลขอให้เรามีความมั่นใจในพระของเรา และมีวิจารณญาณที่ถูกต้องประกอบกับความรู้ที่ศึกษามา มีหลักในการพิจารณาด้วยศาสตร์ต่างๆ อันประกอบด้วยหลักทางประวัติศาสตร์, ศิลปะศาสตร์, วิทยาศาสตร์, เคมี, ธรณีวิทยา เป็นต้น ที่สำคัญไม่หลงตัวเองขอให้ ฟังหู ไว้หู แล้วค่อยหาความรู้หรือข้อมูลเพิ่มเพื่อยืนยันความคิดเห็นเล่านั้น หรือจะถามผู้รู้จากคนที่เราเชื่อถือได้มีความจริงใจ หากถามว่าเคยเอาพระไปเข้างานประกวด ไปออกใบรับรองหรือไม่ คำตอบคือ เคย แต่ปัจจุบันไม่คิดจะนำพระไปประกวดหรือออกใบรับรองไม่ว่าจะเป็นวัดไหน ที่ไหน ตอบแบบนี้ไม่ใช่หมายความว่าจะเล่นพระเพียงคนเดียว แท้คนเดียว แต่ถ้าวิเคราะห์กันให้ดีแล้วคนตรวจสอบพระนั้นเชื่อถือเขาได้แค่ไหน เขามีผลประโยชน์แอบแฝงหรือซ่อนเร้นอยู่หรือเปล่า ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ผมไปถามหรือนำพระไปตรวจสอบก็มีหลายท่านแต่ละท่านค่ำวอดในวงการพระเครื่องมาไม่น้อยกว่า 20 ปี ผมเชื่อเขา แต่ไม่ทั้งหมด หากเป็นกรรมการรับพระตามงานประกวด ผมไม่เชื่อเพราะผมไม่รู้จักเขา เขาก็ไม่รู้จักผม ผู้อ่านอาจแย้งว่า กรรมการทุกคนมีความรู้, มีมาตรฐาน, มีประสบการณ์, มีความชำนาญ และเชื่อถือได้ ถึงได้เป็นกรรมการไม่ว่าจะรับพระหรือตัดสิน ส่วนตัวผมยังไม่เชื่อในมาตรฐานการประกวดพระทุกวันนี้ และไม่เชื่อด้วยว่าไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง จะมีข้อยกเว้นก็เฉพาะเซียนพระสมเด็จรุ่นเก่าบางท่านเท่านั้น นอกนั้นไม่ว่าจะเป็นงานประกวดของสมาคม หรืองานประกวดพระสมเด็จนอกสมาคมที่ทำกันแถวศูนย์การค้าถนนศรีนครินทร์ ล้วนแต่มีข้อกังขาถึงความรู้และความจริงใจของกรรมการที่จะไม่ช่วยพวกเดียวกัน หรือไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ดังที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นคือเหตุและผลในการที่ประมวลเข้าด้วยกันเพื่อพิจารณาพระเครื่องทั้งสิ้น ตราบใดที่ยังไม่มีการศึกษาและข้อยุติในมาตรฐานพระเครื่อง ตราบใดที่เซียนใหญ่ยังยอมรับพรรคพวกมาก่อนพระแท้ เมื่อนั้นนักสะสมรอวันเจ็บตัวอยู่ร่ำไป..ในที่นี้ยังไม่ได้กล่าวถึงพระสมเด็จเกศไชโยที่ยอมรับและเล่นหากันทั้งพิมพ์นิยม ๓ พิมพ์ และพิมพ์ไม่นิยมอีกมากมายที่เรียกกันว่านอกพิมพ์ หรือพิมพ์ตลก ที่ถูกเซียนใหญ่บัญญัติยัดเข้าตำราเพื่อซื้อขายกัน พระสมเด็จเกศไชโยเนื้อใช่พิมพ์ไม่ถูก=แท้(นอกพิมพ์ )....โอกาสหน้าผมจะมีบทความเกี่ยวกับหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน และหลวงพ่อปานวัดบางนมโคมาฝาก ท้ายนี้ผมมีรูปภาพให้ศึกษาลองพิจารณาพระสมเด็จทั้ง 2 องค์นี้ เป็นพิมพ์พระประธานแบบอกกระบอก แล้วช่วยแสดงความคิดเห็นว่าองค์ใดเป็นพระแท้ แล้วผมจะเฉลยให้ทราบ ถือว่ารวมสนุกแบบกันเองครับ................

ขอให้ทุกท่านประสบแต่ความโชดดี หากมีถ้อยคำใดไปล่วงเกินโดยไม่ได้เจตนาผมขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย และขออภัยท่านเจ้าของพระทั้ง 2 องค์นี้ด้วยที่ถือวิสาสะขอเป็นวิทยาทานในการศึกษารวมกัน ขอขอบคุณมากครับ

เรียนรู้จากประสบการณ์พระสมเด็จวัดระฆัง
เรียนรู้จากประสบการณ์พระสมเด็จวัดระฆัง
Top